วันพุธที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

วันอังคารที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

วันจันทร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

Slide MV การ์ตูนFMA


วันพฤหัสบดีที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

สไลด์โปรดของฉัน ^^ [ ชอบมากกก ]




การใส่ MV และการทำสไลด์โปรแกรมMovieMaker กับ Cannon

เป็นการสร้างด้วยวิธีการใช้ MovieMaker2.1 กับ โปรแกรมทำสไลด์ภาพหรือแต่งภาพของกล้อง Cannon มาผสานใช้ร่วมกัน แล้วนำมาอัพโหลดขึ้นเว็บ Youtube หลังจากนั้นอัพเดทลงเพื่อเป็นการตกแต่งblog

วิธีทำ

1.เอารูปที่เป็นไฟล์ JPG มาจัดทำลงสไลด์ก่อน

2.เอาคลิปการ์ตูนที่เป็นไฟล์ WMV (ส่วนใหญ่การ์ตูนหาได้จากเน็ต) มาตัดต่อและเอาภาพที่ต้องการมาแต่ง

3.เอาทั้งรูปภาพและการ์ตูนที่ตัดต่อแล้วมารวมกันที่ MovieMaker

(เวลาทำเราสามารถทำที่ Movie Maker หรือที่โปรแกรมทำสไลด์ของCannonเลยก้อได้ เพราเอฟเฟคของ2โปรแกรมนี้มันต่างกัน)

Embed ของ MV นี้

http://www.youtเพิ่มวิดีโอube.com/v/20onUry2XIo&rel=" width="425" height="355" type="application/x-shockwave-flash" wmode="transparent">

ปฏิทินปี 2551,2008


วันเสาร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

กฎหมาย IT และ รูปแบบอาชญากรรมคอมพิวเตอร์



กฎหมายอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ (Computer Crime Law)


เป็นกฎหมายตัวหนึ่งที่มีความล่าช้ามากในบรรดากฎหมายสารสนเทศทั้ง 6 ฉบับ ความล่าช้านั้นก็มาจากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่จะต้องดูตัวอย่างกฎหมายจากหลายๆประเทศที่บังคับใช้ไปก่อนแล้ว เพื่อจะมาปรับเข้ากับบริบทของประเทศไทย แน่นอนครับว่าการคัดลอกมาทั้งหมดโดยไม่คำนึงถึงความแตกต่าง สภาพวัฒนธรรม ความเจริญก้าวหน้าที่ไม่เท่ากันแล้ว ย่อมจะเกิดปัญหาเมื่อนำมาใช้อย่างแน่นอนอีกทั้งเรื่องนี้ยังเป็นเรื่องใหม่ในสังคมไทย และในกระบวนการยุติธรรมของบ้านเราด้วย กฎหมายบางเรื่องต้องใช้เวลานานถึง 5 ปีกว่าจะออกมาใช้บังคับได้ บางเรื่องใช้เวลาถึง 10 ปีเลยทีดียวปัญหาความล่าช้าเป็นอุปสรรคที่สำคัญอย่างหนึ่งในการพัฒนาประเทศของเรา ทั้งนี้ เกิดจากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นระบบงานราชการที่ยุ่งยาก ซับซ้อน ต้องผ่านหลายหน่วยงาน หลายขั้นตอน หรือแม้แต่ระบบการพิจารณาในสภา ที่มีการเปลี่ยนรัฐบาลกันบ่อยๆจึงทำให้ขาดความต่อเนื่อง และยังมีสาเหตุอื่นอีกมากที่ทำให้กฎหมายแต่ละฉบับนั้นออกมาใช้บังคับช้า


ที่มาของกฎหมายอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ ทุกวันนี้คงปฏิเสธไม่ได้ว่าคอมพิวเตอร์เข้าไปมีบทบาทในชีวิตมนุษย์มากขึ้นทุกวัน โดยเฉพาะในยุคแห่งข้อมูลข่าวสารอย่างในปัจจุบันนี้ จะเห็นได้ว่ามีพัฒนาการเทคโนโลยีใหม่ๆเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว รวมทั้งพัฒนาการเทคโนโลยีสารสนเทศด้วย แต่ถึงแม้ว่าพัฒนาการทางเทคโนโลยีสารสนเทศนั้นจะถูกนำมาประยุกต์ใช้และก่อให้เกิดประโยชน์มากมายก็ตาม หากนำไปใช้ในทางที่ไม่ดีไม่ชอบแล้วก็อาจก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงทั้งทางเศรษฐกิจและสังคมได้ ดังนั้นจึงเกิดรูปแบบใหม่ของอาชญากรรมที่เกิดจากการใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือในการกระทำผิดขึ้น จึงจำเป็นต้องมีการพัฒนา กฎหมายอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ (Computer Crime Law) ขึ้นในบางประเทศอาจเรียกว่า กฎหมายเกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์ในทางมิชอบ (Computer Misuse Law) หรือในบางประเทศอาจต้องมีการปรับปรุงแก้ไขประมวลกฎหมายอาญาเพื่อให้รองรับกับความผิดในรูปแบบใหม่ๆได้ ด้วยการกำหนดฐานความผิดและบทลงโทษสำหรับการก่ออาชญากรรมคอมพิวเตอร์ขึ้นเพื่อให้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ สามารถเอาผิดกับผู้กระทำความผิดได้ ในต่างประเทศนั้น มีลักษณะการบัญญัติกฎหมายอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ 2 รูปแบบ คือ การบัญญัติในลักษณะแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา เช่น ประเทศเยอรมนี แคนาดา อิตาลี และสวิสเซอร์แลนด์ ส่วนอีกรูปแบบหนึ่งคือ การบัญญัติเป็นกฎหมายเฉพาะ เช่น ประเทศอังกฤษ สิงคโปร์ มาเลเซีย และสหรัฐอเมริกาสำหรับประเทศไทยนั้น เลือกใช้ในแบบที่สองคือบัญญัติเป็นกฎหมายเฉพาะ จะเห็นได้ว่าแม้รูปแบบกฎหมายของแต่ละประเทศอาจจะแตกต่างกัน แต่การกำหนดฐานความผิดที่เป็นหลักใหญ่นั้นมักจะคล้ายคลึงกัน ทั้งนี้ โดยมากแล้วต่างก็คำนึงถึงลักษณะของการใช้คอมพิวเตอร์ในการกระทำความผิดเป็นสำคัญ กฎหมายที่ออกมาจึงมีลักษณะที่ใกล้เคียงกัน
สภาพปัญหาในปัจจุบัน ปัญหาข้อกฎหมายของอาชญากรรมคอมพิวเตอร์คือ หลักของกฎหมายอาญาที่ระบุว่า ไม่มีโทษโดยไม่มีกฎหมาย (Nulla poena sinelege) และมุ่งคุ้มครองวัตถุที่มีรูปร่างเท่านั้น แต่ในยุคไอทีนั้น ข้อมูลข่าวสารเป็นวัตถุที่ไม่มีรูปร่าง เอกสารไม่ได้อยู่ในแผ่นกระดาษอีกต่อไป ซึ่งกฎหมายที่มีอยู่ไม่อาจขยายการคุ้มครองไปถึงได้ ตัวอย่างของการก่ออาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ ได้แก่ การโจรกรรมเงินในบัญชีลูกค้าของธนาคาร การโจรกรรมความลับของบริษัทต่างๆที่เก็บไว้ในคอมพิวเตอร์ การปล่อยไวรัสเข้าไปในคอมพิวเตอร์ การใช้คอมพิวเตอร์ในการปลอมแปลงเอกสารต่างๆ รวมไปถึงการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการก่อวินาศกรรมด้วย รูปแบบการก่ออาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันทวีความซับซ้อนและรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้เจ้าหน้าที่ตำรวจผู้ทำหน้าที่สืบสวนทำงานได้อย่างยากลำบาก ทั้งยังต้องอ้างอิงอยู่กับกฎหมายอาญาแบบเดิมซึ่งยากที่จะเอาตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษ นักกฎหมายจึงต้องเปลี่ยนแนวความคิดเกี่ยวกับเรื่องนี้โดยสิ้นเชิง โดยเฉพาะในเรื่องทรัพย์ที่ไม่มีรูปร่าง ซึ่งเป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ตัวอย่างเช่น การขโมยโดเมนเนม (Domain Name) ซึ่งไม่มีรูปร่าง ไม่สามารถจับต้องและถือเอาได้ แต่ก็ถือเป็นทรัพย์และยอมรับกันว่ามีมูลค่ามหาศาลปัญหา
อีกประการหนึ่งเกี่ยวกับกฎหมายอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์คือเรื่อง พยานหลักฐาน เพราะพยานหลักฐานที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์นั้นสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลาและกระทำได้ง่าย แต่ยากต่อการสืบหา รวมทั้งยังสูญหายได้ง่ายอีกด้วย เช่น ข้อมูลที่ถูกบันทึกอยู่ในสื่อบันทึกข้อมูลถาวรของเครื่อง (Hard Disk) นั้น หากระหว่างการเคลื่อนย้ายได้รับความกระทบกระเทือนหรือเกิดการกระแทก หรือเคลื่อนย้ายผ่านจุดที่เป็นสนามแม่เหล็ก ข้อมูลที่บันทึกใน Hard Disk ดังกล่าวก็อาจสูญหายได้นอกจากนี้เรื่องอำนาจในการออกหมายค้นก็เป็นสิ่งที่ต้องพิจารณาเช่นกัน เพราะการค้นหาพยานหลักฐานใน Hard Disk นั้นต้องกำหนดให้ศาลมีอำนาจบังคับให้ผู้ต้องสงสัยบอกรหัสผ่านแก่เจ้าหน้าที่ที่ทำการสืบสวนเพื่อให้ทำการค้นหาหลักฐานใน Hard Disk ได้ด้วย นอกจากนั้น ปัญหาเรื่องขอบเขตพื้นที่ก็เป็นเรื่องที่มีความสำคัญ เพราะผู้กระทำความผิดอาจกระทำจากที่อื่นๆที่ไม่ใช่ประเทศไทย ซึ่งอยู่นอกเขตอำนาจของศาลไทย ดังนั้นกฎหมายควรบัญญัติให้ชัดเจนด้วยว่าศาลมีเขตอำนาจที่จะลงโทษผู้กระทำผิดได้ถึงไหนเพียงไร และถ้ากระทำความผิดในต่างประเทศจะถือเป็นความผิดในประเทศไทยด้วยหรือไม ส่วนประเด็นที่สำคัญอีกประการหนึ่งที่ต้องพิจารณาอย่างละเอียดรอบคอบก็คือประเด็นเรื่องอายุของผู้กระทำความผิด เพราะผู้กระทำความผิดทางอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ส่วนมาก โดยเฉพาะ Hacker และ Cracker นั้น มักจะเป็นเด็กและเยาวชน และอาจกระทำความผิดโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์หรือเพราะความคึกคะนองหรือความซุกซนก็เป็นได้

พระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์


พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมาย ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐”
มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ ในพระราชบัญญัตินี้ “ระบบคอมพิวเตอร์” หมายความว่า อุปกรณ์หรือชุดอุปกรณ์ของคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมการทำงานเข้าด้วยกัน โดยได้มีการกำหนดคำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือสิ่งอื่นใด และแนวทางปฏิบัติงานให้อุปกรณ์หรือชุดอุปกรณ์ทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลโดยอัตโนมัติ“ข้อมูลคอมพิวเตอร์” หมายความว่า ข้อมูล ข้อความ คำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือสิ่งอื่นใดบรรดาที่อยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ในสภาพที่ระบบคอมพิวเตอร์อาจประมวลผลได้ และให้หมายความรวมถึงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ด้วย“ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์” หมายความว่า ข้อมูลเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารของระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งแสดงถึงแหล่งกำเนิด ต้นทาง ปลายทาง เส้นทาง เวลา วันที่ ปริมาณ ระยะเวลาชนิดของบริการ หรืออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการติดต่อสื่อสารของระบบคอมพิวเตอร์นั้น“ผู้ให้บริการ” หมายความว่า(๑) ผู้ให้บริการแก่บุคคลอื่นในการเข้าสู่อินเทอร์เน็ต หรือให้สามารถติดต่อถึงกันโดยประการอื่น โดยผ่านทางระบบคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการให้บริการในนามของตนเอง หรือในนามหรือเพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น(๒) ผู้ให้บริการเก็บรักษาข้อมูลคอมพิวเตอร์เพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น“ผู้ใช้บริการ” หมายความว่า ผู้ใช้บริการของผู้ให้บริการไม่ว่าต้องเสียค่าใช้บริการหรือไม่ก็ตาม“พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้“รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกกฎกระทรวง เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้
หมวด ๑ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
มาตรา ๕ ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้น มิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๖ ผู้ใดล่วงรู้มาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่ผู้อื่นจัดทำขึ้นเป็นการเฉพาะถ้านำมาตรการดังกล่าวไปเปิดเผยโดยมิชอบ ในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๗ ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๘ ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อดักรับไว้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นที่อยู่ระหว่างการส่งในระบบคอมพิวเตอร์และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นมิได้มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะหรือเพื่อให้บุคคลทั่วไปใช้ประโยชน์ได้ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๙ ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๑๐ ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบ เพื่อให้การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นถูกระงับ ชะลอ ขัดขวาง หรือรบกวนจนไม่สามารถทำงานตามปกติได้ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๑๑ ผู้ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอื่นโดยปกปิดหรือปลอมแปลงแหล่งที่มาของการส่งข้อมูลดังกล่าว อันเป็นการรบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่นโดยปกติสุข ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท
มาตรา ๑๒ ถ้าการกระทำความผิดตามมาตรา ๙ หรือมาตรา ๑๐(๑) ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชน ไม่ว่าความเสียหายนั้นจะเกิดขึ้นในทันทีหรือในภายหลัง และไม่ว่าจะเกิดขึ้นพร้อมกันหรือไม่ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท(๒) เป็นการกระทำโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือการบริการสาธารณะ หรือเป็นการกระทำต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่หกหมื่นบาทถึงสามแสนบาทถ้าการกระทำความผิดตาม (๒) เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบปีถึงยี่สิบปี
มาตรา ๑๓ ผู้ใดจำหน่ายหรือเผยแพร่ชุดคำสั่งที่จัดทำขึ้นโดยเฉพาะเพื่อนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการกระทำความผิดตามมาตรา ๕ มาตรา ๖ มาตรา ๗ มาตรา ๘ มาตรา ๙ มาตรา ๑๐ หรือมาตรา ๑๑ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๑๔ ผู้ใดกระทำความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ(๑) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน(๒) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน(๓) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรหรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา(๔) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ ที่มีลักษณะอันลามกและข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้(๕) เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม (๑)(๒) (๓) หรือ (๔)
มาตรา ๑๕ ผู้ให้บริการผู้ใดจงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มีการกระทำความผิดตามมาตรา ๑๔ ในระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในความควบคุมของตน ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้กระทำความผิดตามมาตรา ๑๔
มาตรา ๑๖ ผู้ใดนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ปรากฏเป็นภาพของผู้อื่น และภาพนั้นเป็นภาพที่เกิดจากการสร้างขึ้น ตัดต่อ เติม หรือดัดแปลงด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือวิธีการอื่นใด ทั้งนี้ โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้าการกระทำตามวรรคหนึ่ง เป็นการนำเข้าข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยสุจริต ผู้กระทำไม่มีความผิด ความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ ถ้าผู้เสียหายในความผิดตามวรรคหนึ่งตายเสียก่อนร้องทุกข์ ให้บิดา มารดา คู่สมรส หรือ บุตรของผู้เสียหายร้องทุกข์ได้ และให้ถือว่าเป็นผู้เสียหาย
มาตรา ๑๗ ผู้ใดกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้นอกราชอาณาจักรและ(๑) ผู้กระทำความผิดนั้นเป็นคนไทย และรัฐบาลแห่งประเทศที่ความผิดได้เกิดขึ้นหรือผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษ หรือ(๒) ผู้กระทำความผิดนั้นเป็นคนต่างด้าว และรัฐบาลไทยหรือคนไทยเป็นผู้เสียหายและผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษจะต้องรับโทษภายในราชอาณาจักร


หมวด๒พนักงานเจ้าหน้าที่มาตรา ๑๘ ภายใต้บังคับมาตรา ๑๙ เพื่อประโยชน์ในการสืบสวนและสอบสวนในกรณีที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ เฉพาะที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการใช้เป็นหลักฐานเกี่ยวกับการกระทำความผิดและหาตัวผู้กระทำความผิด(๑) มีหนังสือสอบถามหรือเรียกบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้มาเพื่อให้ถ้อยคำ ส่งคำชี้แจงเป็นหนังสือ หรือส่งเอกสาร ข้อมูล หรือหลักฐานอื่นใดที่อยู่ในรูปแบบที่สามารถเข้าใจได้(๒) เรียกข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์จากผู้ให้บริการเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารผ่านระบบคอมพิวเตอร์หรือจากบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้อง(๓) สั่งให้ผู้ให้บริการส่งมอบข้อมูลเกี่ยวกับผู้ใช้บริการที่ต้องเก็บตามมาตรา ๒๖ หรือที่อยู่ในความครอบครองหรือควบคุมของผู้ให้บริการให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่(๔) ทำสำเนาข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ จากระบบคอมพิวเตอร์ที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ในกรณีที่ระบบคอมพิวเตอร์นั้นยังมิได้อยู่ในความครอบครองของพนักงานเจ้าหน้าที่(๕) สั่งให้บุคคลซึ่งครอบครองหรือควบคุมข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์ ส่งมอบข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ดังกล่าวให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่(๖) ตรวจสอบหรือเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์ของบุคคลใด อันเป็นหลักฐานหรืออาจใช้เป็นหลักฐานเกี่ยวกับการกระทำความผิด หรือเพื่อสืบสวนหาตัวผู้กระทำความผิดและสั่งให้บุคคลนั้นส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ ที่เกี่ยวข้องเท่าที่จำเป็นให้ด้วยก็ได้(๗) ถอดรหัสลับของข้อมูลคอมพิวเตอร์ของบุคคลใด หรือสั่งให้บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการเข้ารหัสลับของข้อมูลคอมพิวเตอร์ ทำการถอดรหัสลับ หรือให้ความร่วมมือกับพนักงานเจ้าหน้าที่ในการถอดรหัสลับดังกล่าว(๘)ยึดหรืออายัดระบบคอมพิวเตอร์เท่าที่จำเป็นเฉพาะเพื่อประโยชน์ในการทราบรายละเอียดแห่งความผิดและผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๑๙ การใช้อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๑๘ (๔) (๕) (๖) (๗) และ(๘) ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อมีคำสั่งอนุญาตให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการตามคำร้อง ทั้งนี้ คำร้องต้องระบุเหตุอันควรเชื่อได้ว่าบุคคลใดกระทำหรือกำลังจะกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดอันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ เหตุที่ต้องใช้อำนาจ ลักษณะของการกระทำความผิด รายละเอียดเกี่ยวกับอุปกรณ์ที่ใช้ในการกระทำความผิดและผู้กระทำความผิด เท่าที่สามารถจะระบุได้ ประกอบคำร้องด้วยในการพิจารณาคำร้องให้ศาลพิจารณาคำร้องดังกล่าวโดยเร็วเมื่อศาลมีคำสั่งอนุญาตแล้ว ก่อนดำเนินการตามคำสั่งของศาล ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ส่งสำเนาบันทึกเหตุอันควรเชื่อที่ทำให้ต้องใช้อำนาจตามมาตรา ๑๘ (๔) (๕) (๖) (๗) และ (๘) มอบให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองระบบคอมพิวเตอร์นั้นไว้เป็นหลักฐาน แต่ถ้าไม่มีเจ้าของหรือผู้ครอบครองเครื่องคอมพิวเตอร์อยู่ ณ ที่นั้น ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ส่งมอบสำเนาบันทึกนั้นให้แก่เจ้าของหรือผู้ครอบครองดังกล่าวในทันทีที่กระทำได้ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้เป็นหัวหน้าในการดำเนินการตามมาตรา ๑๘ (๔) (๕) (๖) (๗) และ(๘)ส่งสำเนาบันทึกรายละเอียดการดำเนินการและเหตุผลแห่งการดำเนินการให้ศาลที่มีเขตอำนาจภายในสี่สิบแปดชั่วโมงนับแต่เวลาลงมือดำเนินการ เพื่อเป็นหลักฐานการทำสำเนาข้อมูลคอมพิวเตอร์ตามมาตรา ๑๘ (๔) ให้กระทำได้เฉพาะเมื่อมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ และต้องไม่เป็นอุปสรรคในการดำเนินกิจการของเจ้าของหรือผู้ครอบครองข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นเกินความจำเป็น การยึดหรืออายัดตามมาตรา ๑๘ (๘) นอกจากจะต้องส่งมอบสำเนาหนังสือแสดงการยึดหรืออายัดมอบให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองระบบคอมพิวเตอร์นั้นไว้เป็นหลักฐานแล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่จะสั่งยึดหรืออายัดไว้เกินสามสิบวันมิได้ ในกรณีจำเป็นที่ต้องยึดหรืออายัดไว้นานกว่านั้น ให้ยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อขอขยายเวลายึดหรืออายัดได้ แต่ศาลจะอนุญาตให้ขยายเวลาครั้งเดียวหรือหลายครั้งรวมกันได้อีกไม่เกินหกสิบวัน เมื่อหมดความจำเป็นที่จะยึดหรืออายัดหรือครบกำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องส่งคืนระบบคอมพิวเตอร์ที่ยึดหรือถอนการอายัดโดยพลัน หนังสือแสดงการยึดหรืออายัดตามวรรคห้าให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา ๒๐ ในกรณีที่การกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้เป็นการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ ที่อาจกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร ตามที่กำหนดไว้ในภาคสองลักษณะ ๑ หรือลักษณะ ๑/๑ แห่งประมวลกฎหมายอาญา หรือที่มีลักษณะขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน พนักงานเจ้าหน้าที่โดยได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีอาจยื่นคำร้อง พร้อมแสดงพยานหลักฐานต่อศาลที่มีเขตอำนาจขอให้มีคำสั่งระงับการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นได้ ในกรณีที่ศาลมีคำสั่งให้ระงับการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ตามวรรคหนึ่ง ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทำการระงับการทำให้แพร่หลายนั้นเอง หรือสั่งให้ผู้ให้บริการระงับการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นก็ได้
มาตรา ๒๑ ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่พบว่า ข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดมีชุดคำสั่งไม่พึงประสงค์รวมอยู่ด้วย พนักงานเจ้าหน้าที่อาจยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อขอให้มีคำสั่งห้ามจำหน่ายหรือเผยแพร่ หรือสั่งให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นระงับการใช้ ทำลายหรือแก้ไขข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นได้ หรือจะกำหนดเงื่อนไขในการใช้ มีไว้ในครอบครอง หรือเผยแพร่ชุดคำสั่งไม่พึงประสงค์ดังกล่าวก็ได้ชุดคำสั่งไม่พึงประสงค์ตามวรรคหนึ่งหมายถึงชุดคำสั่งที่มีผลทำให้ข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือระบบคอมพิวเตอร์หรือชุดคำสั่งอื่นเกิดความเสียหาย ถูกทำลาย ถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมขัดข้อง หรือปฏิบัติงานไม่ตรงตามคำสั่งที่กำหนดไว้ หรือโดยประการอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวงทั้งนี้ เว้นแต่เป็นชุดคำสั่งที่มุ่งหมายในการป้องกันหรือแก้ไขชุดคำสั่งดังกล่าวข้างต้น ตามที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๒๒ ห้ามมิให้พนักงานเจ้าหน้าที่เปิดเผยหรือส่งมอบข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลของผู้ใช้บริการ ที่ได้มาตามมาตรา ๑๘ ให้แก่บุคคลใดความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับกับการกระทำเพื่อประโยชน์ในการดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ หรือเพื่อประโยชน์ในการดำเนินคดีกับพนักงานเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับการใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ หรือเป็นการกระทำตามคำสั่งหรือที่ได้รับอนุญาตจากศาลพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ใดฝ่าฝืนวรรคหนึ่งต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๒๓ พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ใดกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นล่วงรู้ข้อมูลคอมพิวเตอร์ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลของผู้ใช้บริการ ที่ได้มาตามมาตรา ๑๘ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๒๔ ผู้ใดล่วงรู้ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์หรือข้อมูลของผู้ใช้บริการ ที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้มาตามมาตรา ๑๘ และเปิดเผยข้อมูลนั้นต่อผู้หนึ่งผู้ใด ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๒๕ ข้อมูล ข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้มาตามพระราชบัญญัตินี้ ให้อ้างและรับฟังเป็นพยานหลักฐานตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาหรือกฎหมายอื่นอันว่าด้วยการสืบพยานได้ แต่ต้องเป็นชนิดที่มิได้เกิดขึ้นจากการจูงใจมีคำมั่นสัญญา ขู่เข็ญ หลอกลวง หรือโดยมิชอบประการอื่น
มาตรา ๒๖ ผู้ให้บริการต้องเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ไว้ไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันนับแต่วันที่ข้อมูลนั้นเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ แต่ในกรณีจำเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่จะสั่งให้ผู้ให้บริการผู้ใดเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ไว้เกินเก้าสิบวัน แต่ไม่เกินหนึ่งปีเป็นกรณีพิเศษเฉพาะรายและเฉพาะคราวก็ได้ ผู้ให้บริการจะต้องเก็บรักษาข้อมูลของผู้ใช้บริการเท่าที่จำเป็นเพื่อให้สามารถระบุตัวผู้ใช้บริการ นับตั้งแต่เริ่มใช้บริการและต้องเก็บรักษาไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันนับตั้งแต่การใช้บริการสิ้นสุดลง ความในวรรคหนึ่งจะใช้กับผู้ให้บริการประเภทใด อย่างไร และเมื่อใด ให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษาผู้ให้บริการผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรานี้ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าแสนบาท
มาตรา ๒๗ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของศาลหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ที่สั่งตามมาตรา ๑๘ หรือมาตรา ๒๐ หรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของศาลตามมาตรา ๒๑ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองแสนบาทและปรับเป็นรายวันอีกไม่เกินวันละห้าพันบาทจนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง
มาตรา ๒๘ การแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้รัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้มีความรู้และความชำนาญเกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์ และมีคุณสมบัติตามที่รัฐมนตรีกำหนด
มาตรา ๒๙ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามีอำนาจรับคำร้องทุกข์หรือรับคำกล่าวโทษ และมีอำนาจในการสืบสวนสอบสวนเฉพาะความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ในการจับ ควบคุม ค้น การทำสำนวนสอบสวนและดำเนินคดีผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ บรรดาที่เป็นอำนาจของพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ หรือพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ประสานงานกับพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบเพื่อดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ต่อไป ให้นายกรัฐมนตรีในฐานะผู้กำกับดูแลสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และรัฐมนตรีมีอำนาจ ร่วมกันกำหนดระเบียบเกี่ยวกับแนวทางและวิธีปฏิบัติในการดำเนินการตามวรรคสอง
มาตรา ๓๐ ในการปฏิบัติหน้าที่ พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจำตัวต่อบุคคลซึ่งเกี่ยวข้อง บัตรประจำตัวของพนักงานเจ้าหน้าที่ให้เป็นไปตามแบบที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์นายกรัฐมนตรี
* หมายเหตุ* : เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากในปัจจุบันระบบคอมพิวเตอร์ได้เป็นส่วนสำคัญ ของการประกอบกิจการ และการดำรงชีวิตของมนุษย์ หากมีผู้กระทำด้วยประการใด ๆ ให้ระบบคอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำงานตามคำสั่งที่กำหนดไว้ หรือทำให้การทำงานผิดพลาดไปจากคำสั่งที่กำหนดไว้ หรือใช้วิธีการใด ๆ เข้าล่วงรู้ข้อมูล แก้ไข หรือทำลายข้อมูลของบุคคลอื่น ในระบบคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ หรือใช้ระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อเผยแพร่ข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ หรือมีลักษณะอันลามกอนาจาร ย่อมก่อให้เกิดความเสียหาย กระทบกระเทือนต่อเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงของรัฐ รวมทั้งความสงบสุขและศีลธรรมอันดีของประชาชน สมควรกำหนดมาตรการเพื่อป้องกันและปราบปรามการกระทำดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้


รูปแบบอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ แบ่งตามประเภทที่ร้ายแรงได้ 5 ประเภท คือ

1.แฮกเกอร์ (Hacker) คือพวกไปแอบดู ที่ปกติแล้วการแอบดูก็ไม่ใช่ความผิด แต่สมัยนี้ที่เป็นสังคมแบบ Knowledge economy คือเศรษฐกิจที่มีรายได้ที่เกิดจากความรู้ ความรู้ที่ว่านี้ไปสร้างอาชญากรรมได้ คือ ไปแอบดู password แอบดูข้อมูลสำคัญ ๆ เช่น ข้อสอบ หรือความรู้อื่น ๆ และเนื่องจากคอมพิวเตอร์นี้สามารถเก็บข้อมูลได้เป็นจำนวนมาก การเข้าไปลักลอบแอบดูข้อมูลของผู้อื่นจึงทำได้มากเช่นกัน "ผู้ที่มีความสามารถด้านเทคโนโลยี ประกอบกับเทคโนโลยีเหล่านี้มีจุดโหว่ เป็นช่องว่างให้เขาเข้ามาดูได้ ซึ่งการมาดูแล้วทราบในสิ่งเล็กน้อย ก็มีความผิดเพียงเล็กน้อยเท่านั้นเองในกฎหมายเก่า กฎหมายใหม่จึงต้องกำหนดให้ชัดเจนว่าการเข้าไปดูข้อมูลที่เขาไม่ได้อนุญาตินั้น เป็นการกระทำที่เป็นความผิดอาญา เช่นการไปแอบดูบัตรเครดิตคนอื่น" 2.แครกเกอร์ (Cracker) คือพวกที่ทำความเสียหายในระบบ เช่น เข้าไปโกง ฟอกเงิน เผยแพร่อนาจารผู้เยาว์ เข้าไปบิดเบือนข้อมูล เข้าไปขโมยข้อมูลความลับของบริษัทเอกชน หรือเข้าไปขโมยข้อมูลความลับของชาติ ซึ่งก็ถือว่าเป็นอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ที่ร้ายแรงที่สุด 3.เผยแพร่ไวรัส พวกนี้แม้ว่าจะไม่ได้ทำอาชญากรรมโดยตรง แต่เป็นพวกที่จับยากที่สุด เพราะไวรัสเผยแพร่เร็วและขยายวงกว้าง ซึ่งปัจจุบันกฎหมายที่ควบคุมไวรัสนี้ ก็ยังไม่ค่อยมี มีแต่กฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกาที่ค่อนข้างทันสมัย ทางกระทรวงไอซีทีจึงจะมีการยกร่างกฎหมายเกี่ยวกับไวรัสขึ้นมา ซึ่งเนื้อหาก็ใกล้เคียงกับกฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกา กำจัดภาพโป๊อนาจารแบบรื้อเครือข่าย 4..ภาพโป๊ อนาจาร ส่วนนี้ไม่มีใครทำฟรี ต้องมีสปอนเซอร์ มีการเก็บเงิน มีสมาชิก ซึ่งจากการสังเกตพบว่ามีเป็นจำนวนมาก ในส่วนนี้ทางกระทรวงสามารถคุมได้หมด เพราะส่วนใหญ่ก็ทำจากเครื่อง PC และส่วนใหญ่ก็มีเงื่อนไขของการเก็บเงิน ที่ถ้าจะให้จับอย่างจริง ๆ จัง ๆ แล้ว ก็ไม่มีใครอยู่รอดแน่นอน "ทุกวันนี้เราใช้ filter อย่างเดียว คือป้องกันไม่ให้คนมาเปิดดู คือ บล็อกที่ ISP ไม่ให้เปิดดูเว็บไซด์นี้ได้ ซึ่งก็เป็นแค่การบล็อกที่ ISP เท่านั้น ไม่ได้ไปจัดการที่ต้นทาง คนที่ทำเว็บไซด์นี้ก็รอด แต่ต่อไปจะมีการไปตามจับคนที่ทำเว็บไซด์เหล่านี้แล้ว ซึ่งก็รับรองว่าตามตัวคนที่ทำเจอแน่ เพราะสามารถ check ทั้ง Protocal , TCP/IP หรือ internet protocal เป็น Protocal ของทหาร ฉะนั้น สามารถ check ได้ตลอด เพียงแต่ว่าจะตามตัวหรือไม่เท่านั้น ซึ่งสำหรับเว็บไซด์โป๊ในประเทศไทยก็มีอยู่ไม่เกิน 120 เว็บ พวกนี้จะมีลิงค์ถึงกันและกัน เป็นเครือข่าย เพื่อหาสมาชิกใหม่ ๆ ที่ยิ่งทำให้เราตามจับได้ง่ายขึ้น" 5.อาชญากรรมในส่วนของการทำธุรกรรมทางอินเตอร์เน็ต โดยเฉพาะเรื่อง ของการซื้อของทางอินเตอร์เน็ตแล้วไม่จ่ายเงิน ส่วนนี้ต่อไปเมื่อ พ.ร.บ.อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ประกาศใช้ จะสามารถตามจับคนที่ทำผิดได้ แต่ก็มีข้อจำกัดที่จับได้เฉพาะการทำความผิดที่เกิดขึ้นในประเทศไทยเท่านั้น เช่นการซื้อของแบบ E-Commerce ที่คนขายอยู่ประเทศหนึ่ง คนซื้อยู่ประเทศหนึ่ง และแหล่งสินค้าก็อาจจะอยู่อีกประเทศหนึ่งก็ได้ ซึ่งเป็นปัญหาเทคโนโลยี มีการทำการค้าในรูปแบบนี้อยู่มากแล้วในปัจจุบัน ซึ่งกฎหมายของไทยก็ยังไม่สามารถบังคับใช้ได้ ทำได้แต่เพียงว่าต้องมีการไปเจรจาแบบทวิภาคีกับแต่ละประเทศไปก่อน

เรื่องเกี่ยวกับ Chat



Chat room

อินเทอร์เน็ต นอกจากจะให้เราได้ค้นหาข้อมูล งานวิจัยต่าง ๆได้มากมายแล้ว ก็ยังหาเพื่อนสนิทชนิดที่เราไม่เคยรู้จักมาก่อนได้ หรือเพื่อประโยชน์ในการแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร ความคิดเห็น หรือปรึกษาปัญหา ก็ตามแต่ การ Chat ก็คือเป็นกิจกรรมยอดฮิตกิจกรรมหนึ่งเลยทีเดียวบางคนอาจแค่คุยกับใครสักคนแก้เซ็ง แต่บางคนอาจจะคุยกับเพื่อนหรือญาติพี่น้องที่อยู่ไกลกันเพื่อประหยัดค่าโทรศัพท์ทางไกล (แต่ก็ลงทุนเสียค่าอินเทอร์เน็ตแทน) “Chat” ในภาษาอังกฤษ แปลว่า สนทนาอย่างเป็นกันเอง สำหรับในอินเทอร์เน็ตก็เช่นกัน ต่างกันเพียงแค่เป็นการคุยโดยใช้วิธีพิมพ์ข้อความลงไปเท่านั้น ไม่ได้ใช้เสียง แต่ก็มีบางโปรแกรมที่สามารถคุยแล้วสามารถเห็นหน้ากัน หรือแม้แต่ได้ยินเสียง อาทิเช่น โปรแกรม ICQ ,Net meeting เป็นต้น ซอฟต์แวร์ประเภทนี้บางตัวคล้าย กับการใช้ห้องสนทนาตามเว็บไซต์ เช่น ICQ ซึ่งมีทั้งความเป็นส่วนตัวโดยการส่งเมสเสจคุยกัน หรือจะรวมกลุ่มเปิดห้องสนทนากันหลายๆ คนก็ได้ถ้าต้องการ แต่ซอฟต์แวร์บางตัวก็เป็นการสนทนากันด้วยเสียงคำพูด(ต้องมีไมโครโฟน) หรือไม่ก็เป็นวิดีโอภาพ(ต้องใช้เว็บแคม)
รูปแบบการ Chat

Chat ตามเว็บไซต์ เราสามารถเข้าไปสนทนากันได้ที่เว็บไซต์ที่จัดให้บริการห้องสนทนา วิธีนี้ไม่ยุ่งยากอะไร ไม่ต้องเสียเงิน โดยเข้าไปในเว็บไซต์ต่างๆ ที่มีห้องสนทนาให้ เช่น
http://www.thaiirc.in.th/ วิธีการก็แค่ เลือกห้องสนทนาที่ต้องการ แล้วลงชื่อ จากนั้นก็จะสามารถเข้าไปสนทนาได้ทันที โดยเป็นการคุยตอบโต้ระหว่างกันผ่านเซิร์ฟเวอร์ โดยใช้บราวเซอร์ปกติ เหมือนท่องอินเทอร์เน็ตทั่วไป โดยนิยาม Text Chat คือ คุณจะต้องพิมพ์ข้อความที่จะคุยลงไปแล้วอีกฝ่ายก็จะตอบกลับมาเป็นข้อความเช่นกัน แต่วิธีการนี้มีข้อเสียคือ จะมีผู้อื่นอยู่ร่วมห้องสนทนากับเราด้วย และผู้อื่นก็สามารถที่จะอ่านได้และเราเองก็จะสามารถอ่านข้อความสนทนาของผู้อื่นได้เช่นกัน และถ้ามีคนอยู่ในห้องสนทนานั้นมากๆ ก็จะทำให้ช้า หรือไม่ก็ทำให้เราอ่านข้อความของคู่สนทนาของเราไม่ทัน
ใช้โปรแกรม Chat โดยเฉพาะ การสนทนากันโดยใช้โปรแกรมที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่ออำนวยความสะดวกในการคุยโดยเฉพาะ ซึ่งมีความสามารถในการคุยสูงกว่าห้องสนทนาตามเว็บไซต์ ตัวอย่างโปรแกรมก็เช่น ICQ, MSN Messenger เป็นต้น โปรแกรม ICQ และ MSN Messenger เป็นโปรแกรมยอดนิยมซึ่งนักเล่นอินเทอร์เน็ตมีกันเกือบทุกคน (100 ล้านกว่าคนทั่วโลกมีโปรแกรมนี้ใช้) มีความสามารถหลากหลาย และตัวนี้เป็นฟรีซอฟต์แวร์ นอกจากนั้นยังมีโปรแกรม Chat ยอดนิยมที่นักเล่นอินเทอร์เน็ตนิยมใช้กันอีกหลายโปรแกรมเช่น Pirch และ mIRC

เสริมความรู้เรื่อง Chat (IRC - Internet Relay Chat)


Internet Relay Chat หรือ IRC คือ ระบบเครือข่าย (ผู้ใช้บริการ/ผู้ให้บริการ) อำนวยความสะดวกในการสื่อสารคุยกันระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยกันในลักษณะ การส่งข้อความโต้ตอบกัน ผู้ใช้งานสามารถที่จะจัดตั้ง Channel , ห้องหรือกลุ่มของตัวเองในการที่จะคุยพร้อมๆ กันหลายๆ คน หรือต้องการคุยในลักษณะส่วนตัวก็สามารถที่จะทำได้ หลังจากที่ท่านเข้าสู่ระบบ Internet แล้ว ผู้ใช้งานที่มีความประสงค์ที่จะใช้งาน IRC จำเป็นที่จะต้องทำการ Join หรือติดต่อกับ Server ที่ให้บริการ IRC เสียก่อน เพื่อให้ Server IRC นั้นเป็นตัวกลางในการส่งข้อความจากท่านไปยังเพื่อนๆ ของท่าน ผ่านโปรแกรมใช้งาน IRC ในฝั่ง ผู้ใช้งานทั่วไป นั้นก็มีด้วยกันหลายโปรแกรม อาทิเช่น IRC II , PIRCH , MIRC , MsChat และอื่นๆ จากนั้นก็สามารถคุยกันได้อย่างสนุกสนาน
ข้อควรระวังในการสนทนาใน Chat Room:
Chat Room เป็นสถานที่สาธารณะ สำหรับทุกคนบนอินเตอร์เน็ต ที่จะได้สนทนากัน ซึ่งได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ดังนั้นมารยาทในการสนทนาจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง ที่ทุกคนควรจะปฏิบัติกัน จริงๆ แล้วมันก็เหมือนการสนทนาทั่วๆ ไป ผู้สนทนาจะต้องมีจิตสำนึกในการรักษามารยาท อย่างไรก็ตามก็มีบางอย่างที่จะต้องปฏิบัติ เพื่อเตือนสติ “แชต” เป็นรูปแบบการสื่อสารอย่างหนึ่งที่ได้รับความนิยมอย่างมากตั้งแต่วัยเด็กจนถึงวัยทำงาน การแชตสามารถเป็นอันตรายสำหรับคนทุกวัยได้ ข้อกำหนดดังกล่าวข้างตนสามารถนำไปใช้ได้ทั้งในเด็กและก็ผู้ใหญ่ แต่ทั้งนี้เด็กๆก็ควรเล่นแชตโดยอยู่ภายใต้การดูแลของผู้ปกครองอยู่เสมอ ผู้ปกครองควรดูแลการใช้งานการแชตของเด็ก เพราะเด็กๆสามารถแชตได้ด้วยการใช้งานซอฟต์แวร์แชต โทรศัพท์มือถือ และให้เด็กๆแชตในเนื้อหาที่เหมาะสม เพื่อความปลอดภัยสำหรับเด็กๆ การใช้โปรแกรมแชตช่วยทำให้เราติดต่อสื่อสารกันสะดวกมากขึ้นก็จริง แต่ก้อมีข้อเสียในเรื่องของความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวบางอย่างอยู่เหมือนกัน ดังนั้นเราต้องใช้โปรแกรมแชตอย่างระมัดระวัง1. ก่อนที่จะเริ่มพิมพ์ คุณควรจะสำรวจการสนทนาของกลุ่ม ที่คุณจะเข้าไปสนทนาด้วยว่าคุณชอบมากแค่ไหน ซึ่งคุณมีสิทธิ์ที่จะเปลี่ยนกลุ่มคุยได้ 2. สนทนาด้วยคำพูดสุภาพนะครับ 3. อย่าแสดงอาการเห็นแก่ตัวในการสนทนา หรือพิมพ์ประโยคยาวเกินไป ถ้าคุณต้องการบรรยายประโยคยาวๆ เราแนะนำว่าคุณควรจะแบ่งเป็นประโยคสั้น แล้วอาศัยการเว้นถ้อยคำ เช่น : "มีใครเคยได้ยินเรื่องนี้มั้ย..." "มีชายสามคนเดินเข้าไปในป่า..." 4. อย่าละเลยการสนทนา ถ้ามีคนถาม ก็ตอบกลับด้วย 5. ห้ามใช้ตัวพิมพ์ใหญ่ทั้งหมดในการสนทนา เพราะเปรียบเสมือนคุณกำลังตะโกนออกไป ควรใช้ตัวพิมพ์ใหญ่อย่างถูกต้อง
6. อย่าแสดงอาการโอ้อวดในวงสนทนา คุณอาจจะถูกแตะออกจากวงสนทนาได้ 7. ศึกษาการใช้ตัวย่อหรือสัญลักษณ์แสดงอารมณ์ จะช่วยให้คุณพิมพ์ประโยคได้สั้นลง 8. พยายามอย่าดึงการสนทนาให้ช้า ถ้าคุณไม่ว่างหรือติดธุระชั่วขณะ ควรแจ้งให้คู่สนทนาทราบด้วย 9. เพื่อความปลอดภัยของคุณ อย่าใช้ชื่อเล่นที่ชักจูงความสนใจมากเกินไป 10.ไม่ว่าคุณจะเป็นผู้ชาย หรือ ผู้หญิง อย่าให้ข้อมูลส่วนตัวของคุณ ไม่ว่าจะเป็นเบอร์โทรศัพท์ ที่อยู่บ้าน ที่ทำงาน หรือ อื่นๆ 11. ข้อควรระวังในการตั้งชื่อเพื่อการใช้งาน Sanook! QQ แต่ละตัว เราไม่ควรตั้งชื่อที่แสดงถึงข้อมูลส่วนตัวใดๆของเรา ชื่อเล่นที่ใช้ควรจะเป็นชื่ออะไรก้อได้ที่ตั้งขึ้นมาเพื่อเป็น ชื่อเล่น เช่น Smartgirl แทนที่จะเป็น Joy2531 12. ระมัดระวังในเรื่องการเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวที่มีความสำคัญ เช่น หมายเลขบัตรเครดิตหรือรหัสผ่าน ในการพูดคุยใน Sanook! QQ 13. หากตัดสินใจที่จะพูดคุยหรือนัดพบกับคนแปลกหน้า ขอให้ระมัดระวังเรื่องความปลอดภัยไว้ด้วย ตัวอย่างเช่น อย่าไปพบกับบุคคลนั้นเพียงคนเดียว (พาเพื่อนหรือผู้ปกครองไปด้วย) นัดพบกันในสถานที่สาธารณะเพื่อความปลอดภัย เช่น ห้างสรรพสินค้า ร้านอาหารต่างๆ ที่มีคนอยู่เป็นจำนวนมาก 14. โปรแกรมแชตบางรายสามารถเชื่อมโยงชื่อใช้งานเข้ากับชื่ออีเมล์ของคุณที่ใช้จดทะเบียน ดังนั้น ยิ่งชื่ออีเมล์ถูกคนเข้าถึงได้มากเท่าไหร่ ก็อาจมีโอกาสได้รับ สแปมเมล์และ ถูกโจรกรรมข้อมูลส่วนบุคคลมากขึ้นเท่านั้น ดังนั้น การใช้โปรแกรมแชตคิวคิวนั้นปลอดภัยกว่าการใช้โปรแกรมแชตอื่นๆ เพราะผู้อื่นไม่สามารถรู้อีเมล์ของผู้ใช้ได้ อย่างไรก็ตามผู้ใช้ควรจะมีมาตรการป้องกันตัวเองจากข้อความที่ไม่พึงประสงค์ อย่าให้เผลอชื่อและอีเมล์แก่คนแปลกหน้า 15. ไม่ควรเปิดหรือดาวน์โหลดรูปภาพ ไฟล์ต่างๆ หรือคลิกที่ลิงก์ในข้อความที่ส่งมาจากบุคคลที่ไม่รู้จัก และหากมาจากบุคลที่รู้จักก็ควรจะสอบถามกับผู้ส่งว่าได้ส่งข้อความและสิ่งที่แนบมาจริงหรือไม่ หากไม่ใช่ให้ปิดโปรแกรมนั้นทันที 16. หากใช้เครื่องคอมพิวเตอร์สาธารณะตามร้าน Internet café ทั่วไป อย่าเลือกตัวเลือกที่อนุญาตให้เข้าระบบได้โดยอัตโนมัติ คนที่ใช้คอมพิวเตอร์ถัดไปอาจจะใช้ชื่อของเราเข้าระบบได้ 17. เราควรตรวจสอบเงื่อนไขและระเบียบข้อบังคับต่างๆ ในการใช้งาน และระเบียบการรักษาความเป็นส่วนตัวก่อนที่จะเข้าไปแชต

วิธีUpload คลิปขึ้นไปบนเว็บ Video.Google.Com





ข้อแนะนำ
- คลิปวิดีโอที่จะอัพต้องเป็นไฟล์นามสกุล avi, mpg, mpeg, mp4, mod, ra, ram, mov, wmv หรือ asf นะคะ - แนะนอนว่าเพื่อนๆ จะต้องมีอีเมล์ของ Gmail ก่อน หากใครยังไม่มีก็ให้โพสต์อีเมล์(ที่ไม่ใช่ Gmail)ไว้ด้านล่างนะคะ จะส่ง Invite ไปให้

ดาวน์โหลดโปรแกรม


>>
ดาวน์โหลดโปรแกรม Google Video Uploader <<


การติดตั้งโปรแกรม
เมื่อดาวน์โหลดไฟล์ติดตั้งมาแล้วเพื่อนก็เพียงแต่ดับเบิ้ลคลิ๊ก ขั้นตอนของการติดตั้งโปรแกรม Google Video Uploader ก็เริ่มขึ้น จากนั้นก็เพื่อนๆ ก็เพียงแต่ทำตามหน้าจอไปเรื่อยๆ จนจบค่ะ


วิธีใช้งาน
1. เปิดโปรแกรม Google Video Uploader จากเมนูดังรูป











2. เมื่อเข้าสู่โปรแกรม Google Video Uploader ก่อนอื่นให้คลิกที่ปุ่ม Options และคลิกเลือกตั้งเลือกทั้งสองดังรูป




3. คลิกปุ่ม Login..


4. ใส่ Username และ Password ของ Gmail คลิกปุ่ม Submit

5. คลิกปุ่ม Add

6. เลือกไฟล์คลิปวิดีโอที่ต้องการ Upload
7. คลิกปุ่ม Upload now
8. จะแสดงสถานะการ Upload ดังรูป ให้ผู้ใช้งานรอจนจะ Upload เสร็จค่ะ


ตรวจสอบสถานะของ Clip Video ที่อัพโหลด
ในเบื้องต้นทาง Google จะทำการตรวจสอบ Clip Video ที่เราได้อัพโหลดว่าผิดศิลธรรมหรือไม่ เราสามารถตรวจสอบสถานะได้ที่นี่ค่ะ
https://upload.video.google.com/
1. เมื่อเข้าสู่หน้าเว็บดังกล่าวแล้วก็ให้ ใส่ username และ password เพื่อทำการ Login (อันเดียวกับที่ใช้ในการ Login โปรแกรม Google Video Uploader)

2. เมื่อ Login เสร็จ ในส่วนของ Video Information ให้เพื่อนๆ ใส่รายละเอียดที่เกี่ยวกับคลิป โดยคลิกที่ปุ่ม Add

3. ทำการใส่รายละเอียด(ภาษาEng เท่านั้น) จากนั้นคลิกปุ่ม Save Video Information ด้านล่าง

4. ให้รอการอนุมัติจากทาง Google ค่ะ

5. อันนี้คือตัวอย่างไฟล์คลิปที่อนุมัติเรียบร้อยแล้ว สามารถเปิดดูได้โดยคลิกที่ " You can view it here."

6. แสดงไฟล์คลิปของเราบน Google Video เรียบร้อยแล้วค่ะ

วันอังคารที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2551

Search engine








Search engine ทำงานอย่างไร

คำนิยาม "เสิร์ชเอนจิ้น" โดยทั่วไปมักจะหมายถึง เสิร์ชเอนจิ้นชนิด crawler-based ที่ทำงานโดยอัตโนมัติตามโปรแกรมที่ตั้งไว้และชนิด directoriesที่ควบคุมการทำงานโดยแรงงานมนุษย์ เสิร์ชเอนจิ้นทั้งสองประเภท ล้วนลิสต์รายชื่อเว็บไซต์นับล้านทั่วโลกเพื่อเก็บไว้ในฐานข้อมูลของตนในวิธีที่แตกต่างกันอย่างมาก

Crawler-Based เสิร์ชเอนจิ้น
เสิร์ชเอนจิ้นชนิดนี้ เช่น Google ลิสต์รายชื่อเว็บไซต์ต่างๆโดยอัตโนมัติ โดยจะส่ง Googlebot (โปรแกรมที่ทำการสำรวจ crawl เว็บไซต์ต่างๆ)หรือทางศัพท์เทคนิคเรียก Spider สำรวจเว็บไซต์ต่างๆและเก็บเว็บไซต์ต่างๆนั้นลงในฐานข้อมูลของตน และเมื่อผู้ชมทำการค้นหาข้อมูลต่างๆเหล่านั้น Google ก็จะแสดงผลการค้นหาที่มีอยู่ในฐานข้อมูลนั้นแก่ผู้ชม ซึ่งถ้าคุณเปลี่ยนแปลงเนื้อหาในแต่ละเว็บเพจ เสิร์ชเอนจิ้นประเภทนี้ก็สามารถที่จะค้นพบการเปลี่ยนแปลงนั้นๆได้ไม่ว่าจะเป็น ชื่อไตเติ้ล (Page Title), เนื้อหา หรือส่วนอื่นใดในเว็บไซต์ก็ตาม

Human-Powered Directories ไดเรกทอรี่ ที่ได้รับการบริหารจัดการโดยผู้ดูแลระบบไดเรกทอรี่
Directories ที่บริหารจัดการโดยผู้ดูแลระบบ เช่น Open Directory ใช้แรงงานมนุษย์เป็นหลักในการลิสต์รายชื่อเว็บไซต์นับล้าน คุณเพียงแค่ submit เว็บไซต์ที่ระบุรายละเอียดโดยย่อเกี่ยวกับเว็บไซต์ของคุณ ให้กับไดเรกทอรี่ ทาง Editor จะทำการตรวจสอบและนำรายชื่อคุณเข้าสู่ฐานข้อมูลของไดเรกทอรี่ ซึ่งถ้ามีผู้ชมค้นหาข้อมูลตรงกับที่คุณเขียนอธิบายรายละเอียดไว้ เว็บไซต์คุณก็จะแสดงผลออกมาในหน้าผลลัพธ์การค้นหา

การเปลี่ยนในเนื้อหาในเว็บเพจแต่ละหน้านั้นไม่มีผลใดๆต่ออันดับที่จะถูกแสดงขึ้นมาในหน้าผลลัพธ์การค้นหาแต่อย่างใด เทคนิคหรือวิธีการใดๆก็ตามที่มีผลให้เว็บไซต์คุณอยู่ในอันดับที่ดีขึ้นใน search engine นั้น จะไม่ส่งผลใดๆต่ออันดับการค้นหาของไดเรกทอรี่แต่อย่างใด เว้นแต่เว็บไซต์คุณมีเนื้อหาที่เป็นประโยชน์และมีคุณภาพ จะได้รับการพิจารณาจาก ผู้ดูแลไดเรกทอรี่ editor มากกว่าเว็บไซต์ที่เนื้อหาไม่เป็นประโยชน์




Hybrid Search Engines เสิร์ชเอนจิ้นลูกผสม
ทุกวันนี้มีพัฒนาการของ เสิร์ชเอนจิ้น ในลักษณะที่นำข้อดีของทั้ง crawler-based และ directories มาใช้งานมากขึ้น แต่โดยปกติแล้วเสิร์ชเอนจิ้นลูกผสม นั้น มักจะให้ผลลัพธ์ในการค้นหาเอียงไปทางใดทางหนึ่งมากกว่าอีกทางหนึ่ง เช่น MSN search นั้น มักจะโอนเอียงไปทางไดเรกทอรี่ที่ดูแลโดย editor มากกว่า crawler-based อาทิเช่น LookSmart (เสิร์ชเอนจิ้นตัวหนึ่งของ MSN) แต่ก็มีการโอนเอียงไปทาง crawler-basedเช่นกัน อาทิเช่น Inktormi (เสิร์ชเอนจิ้นตัวหนึ่งของ MSN)โดยเฉพาะอย่างยิ่งคำค้นหาที่มีความสลับซับซ้อนมากๆ

องค์ประกอบสำคัญของ Crawler-based เสิร์ชเอนจิ้น
องค์ประกอบสำคัญมี 3 ส่วน คือ Spider (สไปเดอร์) หรือที่เรียกว่า Crawler สไปเดอร์จะเข้าทำการสำรวจเว็บเพจ เก็บข้อมูล โดยไล่ไปตามลิ๊งก์ที่อยู่ในแต่ละเว็บเพจนั้นๆและเก็บข้อมูลเหล่านั้นไว้ในฐานข้อมูล ซึ่งสไปเดอร์จะทำการสำรวจเว็บไซต์ต่างๆอยู่อย่างสม่ำเสมอ เช่น ทุกเดือนๆ เพื่อตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงภายในเว็บไซต์นั้นๆ
เมื่อ สไปเดอร์สำรวจเจอข้อมูลใดๆก็ตาม ข้อมูลเหล่านั้นจะถูกส่งไป index อินเด็กซ์ หรือบางครั้งเรียก catalogue แคตตาล็อก index นั้นเปรียบเหมือนกับหนังสือพจนานุกรมเล่มใหญ่มหึหามาที่บรรจุข้อมูลทุกๆเว็บเพจของทุกๆเว็บไซต์ที่สไปเดอร์เข้าทำการสำรวจมาแล้ว ซึ่งถ้าเว็บเพจเปลี่ยนแปลงข้อมูลใน index ก็จะเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย
บางครั้งใช้ระยะเวลาพอประมาณในการที่ข้อมูลของเวบเพจที่เปลี่ยนแปลง หรือเว็บเพจที่เพิ่มขึ้นจะได้รับการ index ถึงแม้ว่า spider จะเข้าทำการสำรวจไปแล้วก็ตามหรือกล่าวได้ว่า สำรวจแล้วแต่ยังไม่ได้รับการบรรจุ (index) เข้าไปในฐานข้อมูลของ เสิร์ชเอนจิ้น

เสิร์ชเอนจิ้น ซอฟท์แวร์ เป็นส่วนที่สามขององค์ประกอบสำคัญของเสิร์ชเอนจิ้น ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ทำการสำรวจข้อมูลที่ได้รับการ index เรียบร้อยแล้วและจัดลำดับความสำคัญข้อมูลเหล่านั้นว่าข้อมูลใดมีความสำคัญมากที่สุด สำหรับคำค้นหาคำหนึ่งๆ เพื่อที่จะแสดงออกมาในหน้าผลลัพธ์การค้นหาของเสิร์ชเอนจิ้น

Crawler-based เสิร์ชเอนจิ้น นั้นล้วนมีองค์ประกอบสำคัญตามที่อธิบายไว้แล้ว แต่ทั้งนี้อาจมีวิธีการที่แตกต่างกันในการลำดับข้อมูล ดังนั้นผลลัพธ์การค้นหาของคีย์เวิร์ดคำเดียวกัน อาจให้ผลลัพธ์ที่แตกต่างกันเมื่อใช้เสิร์ชเอนจิ้นคนละตัวก็เป็นได้ ข้อมูลต่างๆเหล่านี้รวมรวมมาจากหลายๆแหล่งอาทิ อินเตอร์เน็ท หนังสือ หัวข้อข่าว และอื่นๆ รวมถึงส่วนคำอธิบายของเสิร์ชเอนจิ้นแต่ละตัวเองด้วย

หมายเหตุ: บทความนี้ไม่สงวนลิขสิทธิ์แต่อย่างใด สามารถนำไปใช้อ้างอิงเผยแพร่ได้ตามต้องการ ทางบริษัท ทีไอเอส มาร์เก็ตติ้ง จำกัด จะขอบคุณอย่างมากหากคุณอ้างอิงถึงแหล่งที่มาว่ามาจากเว็บไซต์ http://www.tismarketing.com
เสิร์ชเอ็นจิน และไดเรคทอรี

บริการค้นหาเวบเพจที่มีอยู่ในปัจจุบันเช่น AltaVista, Lycos, Yahoo, HotBot, InfoSeek ฯลฯ ซึ่งเรามักเรียกโดยรวมทั้งหมดว่าเป็นเสิร์ชเอ็นจินนั้น แท้ที่จริงแล้วมีบางแห่งมีที่ทำงานด้วยโดยใช้เสิร์ชเอ็นจิน และบางแห่งทำงานด้วยวิธีเก็บเว็บเพจไว้เป็น ไดเรคทอรี ซึ่งมีความแตกต่างกันโดยหลักพื้นฐานการสร้างดัชนีชี้เวบเพจ
ไดเรคเทอรีมีการทำงานที่แตกต่างกับเสิร์ชเอ็นจิน คือใช้การปรับเพิ่มข้อมูลโดยผู้ดูแลระบบเองโดยไม่ได้ทำอย่างอัตโนมัติ หากเวบไซต์ใดที่ต้องการมีรายชื่อในไดเรคเทอรีก็ต้องติดต่อไปยังผู้ดูแลไดเรคเทอรี เพื่อให้ผู้ดูแลจำแนกและจัดเก็บลงในฐานข้อมูล ระบบการเก็บแบบไดเรคเทอรีอาจให้ผลลัพธ์การค้นหาข้อมูลที่ตรงประเด็นมากกว่าเสิร์ชเอ็นจิน เพราะผ่านการแยกหมวดหมู่เองเพื่อให้สามารถค้นหาได้โดยตรง ตัวอย่างของบริการค้นหาที่ใช้ระบบไดเรคเทอรีได้แก่ Yahoo!
สำหรับเสิร์ชเอ็นจินโดยความหมายที่แท้จริงแล้วเป็นระบบซอฟต์แวร์ที่คอยอ่านข้อมูลแต่ละหน้าหรือเวบเพจจากเวบไซต์ต่างๆโดยอัตโนมัติ จากนั้นจึงนำเวบเพจที่อ่านได้มาทำดัชนี เสิร์ชเอ็นจินจะตรวจสอบลิงค์ในแต่ละหน้าของเวบเพจเพื่อเข้าไปอ่านเวบเพจเพื่อทำดัชนีต่อไปอีก ตัวอย่างของเสิร์ชเอ็นจินนี้ได้แก่ Alta Vista หรือ HotBot เป็นต้น
ภายในของเสิร์ชเอ็นจิน

โครงสร้างภายในของเสิร์ชเอ็นจินสามารถแบ่งออกเป็น 3 ส่วนใหญ่ๆ คือ
เสิร์ชเอ็นจิน = สไปเดอร์ + อินเด็กเซอร์ + เสิร์ชเอ็นจินซอฟต์แวร์




เทคนิคในเสิร์ชเอ็นจิน

ผลลัพธ์จากการค้นหาจากเสิร์ชเอ็นจินที่มีใช้งานอยู่ทั่วไปนั้น นอกจากจะได้ลิงค์ของเวบเพจแล้วเสิร์ชเอ็นจินยังแสดงเนื้อหาข้อมูลในเวบเพจนั้นด้วย นั่นหมายความว่าเสิร์ชเอ็นจินจะต้องจัดเก็บข้อมูลที่นำมาแสดงนั้นไว้ในฐานข้อมูล เสิร์ชเอ็นจินแต่ละตัวมีวิธีเลือกเก็บข้อมูลแตกต่างกันไปเช่น เก็บเฉพาะอักขระ 200 ตัวแรกของเวบเพจ เสิร์ชเอ็นจินจะคัดเอาอักขระ 200 ตัวแรกที่ไม่ได้เป็นคำสั่ง HTML มาทำเป็นคำบรรยาย หรือเก็บจำนวนคำที่พบในเพจเพื่อนำมาแสดงเป็นคะแนนว่าเวบเพจที่ค้นได้มีความเกี่ยวข้องกับคำที่ค้นมามากเพียงใด ตัวสไปเดอร์ในเสิร์ชเอนจินจะใช้ทรัพยากรของระบบเป็นจำนวนมาก เสิร์ชเอนจินที่ดีจะมีสไปเดอร์ที่ไม่ใช้ทรัพยากรของระบบสูงมากเกินไปโดยอาศัยเทคนิคดังเช่น ไม่อ่านเอกสาร HTML มากเกินไป แม้ว่าสไปเดอร์ จะมีความสามารถจัดการเอกสารได้ทัน เพราะอาจจะทำให้เครือข่ายทำงานช้าลง อ่านเฉพาะส่วนที่จำเป็นต้องใช้ เช่นอาจจะอ่านมาเฉพาะส่วนที่เป็นตัวอักษร ซึ่งในโปรโตคอล HTTP มีฟิลด์ Accept ซึ่งใช้สำหรับบอกชนิดของข้อมูลที่ต้องการ หากมีการระบุชนิดของข้อมูลลงในฟิลด์นี้ เวบเซิร์ฟเวอร์จะส่งข้อมูลมาเฉพาะชนิดที่ระบุในไฟล์ ตรวจสอบไม่ให้อ่านเวบที่เคยอ่านไปแล้ว ข้อควรระวังของข้อนี้ก็คือ เซิร์ฟเวอร์บางเซิร์ฟเวอร์อาจจะมีชื่อได้หลายชื่อ เช่น web.nexor.co.uk, nercules.nexor.co.uk และ 128.243.219.1 เป็นเซิร์ฟเวอร์ เดียวกัน มัลติเสิร์ชเอ็นจิน นอกไปจากเสิร์ชเอ็นจินแล้ว ในปัจจุบันยังมีมัลติเสิร์ชเอนจิน หรือ เสิร์ชเอนจินแบบขนาน ซึ่งก็คือเสิร์ชเอนจินที่จะส่งคำไปถามหรือเสิร์ชเอนจินหลายๆตัวพร้อมกันในครั้งเดียว แล้วนำผลลัพธ์ที่ได้มารวมและเรียบเรียงใหม่ ตัวอย่างของมัลติเสิร์ชเอนจิน เช่น
Doqpile (http://www.doqpile.com)
Inference Find (http://m5.inference.com/find/)
Metacrawler (http://www.metacrawler.com)
SEARCH.COM (http://www.search.com)

Email











อีเมล์ ( E-mail ) ย่อมาจากคำว่า Electronics Mail ซึ่งก็แปลเป็นไทยได้ว่า ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์นั่นเอง อีเมล์เป็นสิ่งที่ส่งระหว่างผู้หนึ่งไปถึงผู้หนึ่งในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยใช้เวลาเดินทางถึงผู้รับในเวลาไม่กี่นาที เร็วกว่าการส่งจดหมายแบบปกตินับพันนับหมื่นเท่า จึงน่าจะเป็นวิธีการสื่อสารที่มาแทนการส่ง

จดหมายได้อย่างดี จากสถิติของประเทศไทย พบว่าอีเมล์มีผลทำให้การส่งไปรษณีย์ระหว่างประเทศลดลงถึง ๕๐ % ภายในเวลา ๕ ปีที่ผ่านมา คงพอจะเห็นอิทธิพลของอีเมล์ว่าน่าจะทดแทนการส่งจดหมายในอนาคตได้ไม่ยากนัก อีเมล์ ไม่ใช่ส่งได้แค่ข้อความเท่านั้น แต่ยังส่งไฟล์ ( Attach File ) ไปได้ด้วย ทำให้สามารถส่งภาพ และ เสียงไปพร้อมกับอีเมล์ได้ แต่ทุก ๆ อย่างต้องอยู่ในรูปไฟล์ของคอมพิวเตอร์เท่านั้น เนื่องจากระบบอีเมล์เป็นการส่งระหว่างคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งนอกจากนี้อีเมล์สามารถจะส่งบนเครือข่ายภายในองค์กร ( หรือที่นิยมเรียกกันว่า LAN ) หรือ จะส่งผ่าน Internet ก็ได้ แต่อีเมล์ที่จะกล่าวถึงนี้ เป็นอีเมล์ที่ส่งกันใน Internet ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมแพร่หลายอย่างมาก

E-mail Address เป็นข้อความสั้นๆ ที่แสดงที่อยู่ของผู้รับจดหมาย ประกอบด้วย ๓ ส่วน คือ

๑. ชื่อของผู้รับจดหมาย ซึ่งมักจะพบว่าส่วนนี้เป็นชื่อของผู้รับจดหมาย หรือบางคน ก็ใช้เป็นนามสกุล หรือ บางคนก็ชอบใช้เป็นชื่อเล่น หรือชื่อย่อ

๒. เครื่องหมาย @ หรือนิยมเรียกว่า แอ็ต เนื่องจากเสียงอ่านไปพ้องเสียงกับคำว่า At ซึ่งแปลว่า ที่เครื่องหมายนี้ใช้คั่นระหว่างชื่อผู้รับจดหมายกับที่อยู่

๓. ที่อยู่ของผู้รับ ซึ่งมักจะเป็นส่วนหนึ่งของโดเมนเนม หรือ อาจจะมีชื่ออื่น ๆ ปนมาด้วย ก็แล้วแต่ว่าผู้รับจะไปสมัครสมาชิกอีเมล์ไว้ที่ใดก็ได้ที่ผู้เขียนเป็นสมาชิกอีเมล์

ประเภทของ E-mail สามารถแบ่งวิธีการใช้อีเมล์ ได้เป็น ๒ ระบบ










๑. Webmail หมายถึง การเข้าสู่โฮมเพจที่ให้บริการอีเมล์ฟรี วิธีการนี้มีข้อดี คือ สามารถขออีเมล์แอดเดรสจากโฮมเพจเหล่านั้นได้ และ เมื่อต้องการใช้อีเมล์ก็กลับไปยังโฮมเพจนั้น เพื่ออ่าน และ เขียนเมล์ ( Compose Mail ) ได้ง่าย ๆ การใช้อีเมล์ด้วยวิธีนี้ไม่ต้องติดตั้งโปรแกรมอะไรเพิ่ม เพราะเราทำทุกอย่างผ่านโปรแกรมบราวเซอร์ ดังนั้นถ้าคุณมีโปรแกรม Internet Explorer , Netscape Navigator หรือ Opera ก็สามารถใช้งานได้ทันทีการรับส่งอีเมล์โดยผ่านโปรแกรมบราวเซอร์ นั้นลำดับแรกจะต้องเข้าไปสมัครสมาชิกอีเมล์ที่ Website ที่ให้บริการ จากนั้นแล้วจึงเข้าไปใช้งาน ซึ่งต้องทำในโปรแกรมบราวเซอร์ทุกอย่างเหมือนกับการท่องเว็บธรรมดา แต่สามารถรับส่งอีเมล์ได้ง่าย ๆ จึงสามารถใช้ Webmail ได้ทุกที่ที่มี WWW ไม่ว่าจะเป็นที่บ้าน ที่ทำงาน หรือ Internet Café ที่ใด ๆ ในโลก โดยไม่ต้องปรับแต่ง หรือ ติดตั้งอะไรลงในคอมพิวเตอร์เลย













๒. POP Mail เป็นชื่อที่เรียกกันอย่างไม่เป็นทางการของระบบการรับส่งอีเมล์แบบที่ไม่ต้องเชื่อมต่อ Internet อยู่ตลอดเวลา ในการอ่านอีเมล์ และ แต่งอีเมล์ จึงเป็นทางเลือกหนึ่งของการใช้อีเมล์ ซึ่งมีข้อดีข้อเสียต่างจาก Webmail มากพอสมควร คือ จะต้องมีโปรแกรมที่ใช้ในการส่งอีเมล์ เช่น Outlook Express และ Eudora วิธีการนี้มีจุดเด่นตรงที่ ไม่ต้องเชื่อมต่อ Internet ในขณะที่อ่าน หรือ แต่งจดหมาย เรียกวิธีการนี้ว่าการแต่งเมล์แบบ Offline นอกจากนี้สามารถ Download จดหมาย และ เก็บจดหมายไว้ในเครื่องเพื่ออ่าน สิ่งที่คุณต้องจัดเตรียมในการส่งอีเมล์แบบนี้ คือ E-mail Address และ Address ของ Server ที่ทำหน้าที่รับส่งอีเมล์ ซึ่งอาจจะเป็นของ ISP หรือ อาจจะเป็น Server ของ Webmail บางแห่งที่ให้บริการส่งเมล์แบบนี้

Post Office Protocol version 3 (POP3) หรือ พ็อป หรือ เกณฑ์วิธีที่ทำการไปรษณีย์[1] เป็นโปรโตคอลมาตรฐานบนอินเทอร์เน็ต ใช้ในการรับอีเมลจากเซิร์ฟเวอร์ โดยทำงานอยู่บนชุดโปรโตคอล TCP/IP ในปัจจุบันผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตทุกรายให้บริการอ่านอีเมลแบบ POP3

POP3 เป็นการพัฒนาจากโปรโตคอลรุ่นก่อนหน้านี้ คือ POP1 และ POP2 ในปัจจุบันคำว่า POP หมายความถึง POP3

POP3 ออกแบบมาสำหรับผู้ใช้ที่เข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้จำกัด (เช่น ต่ออินเทอร์เน็ตด้วยสายโทรศัพท์) ซึ่งผู้ใช้สามารถดาวน์โหลดอีเมลมาเก็บไว้ และอ่านได้ในภายหลัง โดยไม่ต้องเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต ตรงกันข้ามกับโปรโตคอลในการรับอีเมลที่ใหม่กว่า คือ Internet Message Access Protocol (IMAP) ที่สนับสนุนการอ่านอีเมลทั้งแบบออนไลน์และออฟไลน์ อย่างไรก็ตามมีผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตที่สนับสนุน IMAP ด้วยน้อยกว่า POP3

Simple Mail Transfer Protocol (SMTP) เป็นโปรโตคอลสำหรับส่งอีเมลในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

SMTP เป็นโปรโตคอลแบบข้อความที่เรียบง่าย ทำงานอยู่บนโปรโตคอล TCP พอร์ต 25 ในการส่งอีเมลไปยังที่อยู่ที่กำหนด จำเป็นต้องใช้ค่า MX (Mail eXchange) ของ DNS

ปัจจุบันมี mail transfer agent กว่า 50 โปรแกรมที่สามารถใช้ SMTP ได้ โดยมีโปรแกรม Sendmail เป็นโปรแกรมแรกที่นำ SMTP ไปใช้ โปรแกรมตัวอื่นได้แก่ Postfix, qmail และ Microsoft Exchange เป็นต้น

สแปม (spam) คือชื่อเรียกของการส่งข้อความที่ผู้รับไม่ได้ร้องขอ ผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยส่วนมากจะทำให้เกิดความไม่พอใจต่อผู้รับข้อความ สแปมที่พบเห็นได้บ่อยได้แก่ การส่งสแปมผ่านทางอีเมล ในการโฆษณาชวนเชื่อ หรือโฆษณาขายของ โดยการส่ง อีเมลประเภทหนึ่งที่เราไม่ต้องการ ซึ่งจะมาจากทั่วโลก โดยที่เราไม่รู้เลยว่า ผู้ที่ส่งมาให้นั้นเป็นใคร จุดประสงค์คือ ผู้ส่งส่วนใหญ่ต้องการที่จะโฆษณา สินค้าหรือบริการต่าง ๆ ของบริษัทของตนเอง ซึ่งเป็นประเภทหนึ่งของเมลขยะซึ่งนอกจากจะทำให้ผู้รับรำคาญใจและเสียเวลาในการกำจัดข้อความเหล่านี้แล้ว สแปมยังทำให้ประสิทธิภาพการขนส่งข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตลดลงด้วย สแปมในรูปแบบอื่นนอกจาก อีเมลสแปม ได้แก่ เมสเซนเจอร์สแปม นิวส์กรุ๊ปสแปม บล็อกสแปม และเอสเอ็มเอสสแปม

การส่งสแปมเริ่มแพร่หลายเนื่องจากค่าใช้จ่ายในการส่งข้อความผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ มีค่าใช้จ่ายน้อยมากเมื่อเทียบการการส่งข้อความชักชวนทางอื่น เช่นทางจดหมาย หรือการโฆษณาทางสื่อต่างๆ ทำให้ผู้ส่งประหยัดค่าใช้จ่ายในการส่งข้อความเชิญชวน และในขณะเดียวกันกฎหมายเกี่ยวกับระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่เกี่ยวข้องกับสแปมยังไม่ครอบคลุม จนกระทั่งเริ่มมีใช้ครั้งแรกปี พ.ศ. 2546 (ค.ศ. 2003) ในประเทศสหรัฐอเมริกา

บล็อกสแปม (Spam blog) หรือ สปล็อก (Splog) คือการสร้างข้อความขยะ หรือข้อความโฆษณา หรือข้อความต่างๆ ที่คล้ายกับการสร้างความน่าเชื่อถือภายในบล็อก ซึ่งปัจจุบันถูกแบ่งเป็นสองแบบด้วยกันคือ แบบแรก การ spam blogs ด้วยการสร้าง blog ขึ้นมาเป็นจำนวนมากๆ เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือในการทำการตลาดของธุรกิจบางอย่าง หรือถูกใช้เพื่อสร้างกระแสต่างๆ ตามที่ต้องการ แบบที่สองคือ การสร้างกระทู้ขยะหรือความคิดเห็นขยะ เพื่อโฆษณาขายของ หรือเพื่อเรียกร้องให้คนไปยังเว็บไซต์ที่ต้องการ ในกระดานสนทนาออนไลน์ต่างๆ นอกจากนี้

ซึ่งปัจจุบัน สิ่งเหล่านี้เป็นปัญหามากขึ้นเรื่องเนื่องจากถูกใช้เป็นอีกรูปแบบหนึ่งในที่พัฒนาขึ้นจากการ spam mail รวมทั้งมีการสร้างโปรแกรม spam blog เหล่านี้ขายกันในต่างประเทศอีกด้วย



คู่มือการใช้งาน Junk Mail Manager





ระบบ Junk Mail Manager ของซีเอส ล็อกซอินโฟ ทำหน้าที่กักเก็บอีเมล์ที่ไม่พึงประสงค์ มีระบบจัดกา่รอีเมล์ ซึ่งอนุญาตให้คุณสามารถจัดการกับอีเมล์ที่ถูกดักจับไว้อย่างมีประสิทธิภาพ
วิธีการจัดการกับอีเมล์ไม่พึงประสงค์ มีดังต่อไปนี้
การจัดการอีเมล์ไม่พึงประสงค์ผ่านเว็บ : แรกเริ่ม ระบบจะทำการส่ง Welcome message ไปยังผู้ใช้บริการ ซึ่งเมื่อคุณคลิกที่ My Junk Mail link คุณสามารถ Login เข้าไปเพื่อจัดการกับอีเมล์ที่ไม่พึงประสงค์ได้ได้ เมื่อคุณเห็นว่า มีอีเมล์ที่ดีบางฉบับถูกดักจับว่า้เป็นแสปม คุณสามารถทำการส่ง (deliver) หรืออนุมัติ (approve) เพื่อส่ง mail ที่ถูกกักไว้เข้าไปยัง account ของคุณ Note: แสปมที่ถูกเก็บไว้จะถูกเก็บไว้ และอีเมล์ที่เ่ก่ากว่าระยะเวลาที่ทางผู้ดูแลระบบกำหนดไว้จะถูกลบ ค่าที่ตั้งไว้ปัจจุบัน คือ 5 วัน
การจัดการอีเมล์ไม่พึงประสงค์จากโปรแกรมอีเมล์ : ในทุก ๆ วัน ระบบจะส่ง Junk Mail Manager Summary, ซึ่งเป็นรายการอีเมล์ที่ถูกเก็บไว้ในระบบ จากรายการ คุณสามารถเปิดดูเนื้อหาอีเมล์ ทำการส่ง (deliver) หรืออนุมัติ (approve) เพื่อส่ง mail จาก Junk Mail Manager เข้าไปยังเมล์บอกซ์ของคุณตามต้องการ





การจัดการรายการสรุป Junk E-mail
รายการสรุป Junk Mail Manager , จะถูกจัดส่งให้กับคุณทุกวัน ( หรือตามระยะเวลาที่กำหนด) ทำให้คุณสามารถตรวจสอบอีเมล์ที่เ้ป็นแสปม และอีเมล์ดีที่ถูกจัดว่าเป็นแสปม

รายการคำสั่งใน e-mail summary
คำสั่ง
ผลลัพธ์
Deliver it.
คลิกที่ Deliver .อีเมล์ที่ต้องการจะถูกส่งจากระบบ Junk Mail Manager ไปยังเมลบอกซ์ของคุณ
Approve it.

คลิก Approve .อีเมล์ที่ได้รับการอนุมัติ (Approved) จะถูกส่งเข้าไปยังเมล์บอกซ์ของคุณ ในครั้งต่อไปอีเมล์ที่ได้รับการอนุมัติ จะถูกส่งไปยังเมล์บอกซ์ของคุณโดยไม่ผ่านระบบกลั่นกรองอีเมล์ ซึ่งใช้ในกรณีที่อีเมล์บางฉบับ อาจถูกจัดว่า้เป็นแสปม
View it.
คลิืก Subject เพื่อเปิดอ่านอีเมล์
Do nothing.
ไม่ต้องทำอะไร ระบบจะทำการลบแสปมเมล์ให้คุณโดยอัตโนมัติ ตามกำหนดที่แจ้งไว้ในอีเมล์รายการสรุป




การใช้ Junk Mail Manager
การลอกอิน
เมื่อระบบส่งรายการสรุปอีเมล์ไม่พึงประสงค์ คุณสามารถคลิกคำว่า Login ในอีเมล์เพื่อเปิดเข้ามายังหน้า Login ของระบบ Junk Mail Manager
พิมพ์ username@domain และ password ของคุณที่ใช้ในการรับอีเมล์



การใช้งานหน้า Junk Mail Manager
เมื่อคุณล็อกอินเข้ามาใน Junk Mail Manager จะปรากฏรายการอีเมล์ที่เป็นแสปม และอาจมีอีเมล์ที่ดีถูกจัดว่าเป็นแสปมปะปนเข้ามาอยู่ด้วย คุณสามารถใช้คำสั่งต่อไปนี้ เพื่อการจัดการตามความต้องการ

คำสั่ง
ผลลัพธ์
My Junk Mail
ดูและจัดการอีแสปมเมล์
Search
ค้นหาอีเมล์ที่ต้องการ
Controls
แก้ไขการทำงานของ Junk Mail Manager
Allowed Senders
สร้างรายการผู้ใช้ หรือโดเมนที่ไม่ต้องการให้ผ่านระบบการกลั่นกรองเมล์ เพื่อมิให้เมล์ที่สำคัญหลุดรอดเข้าไปในระบบ Junk Mail Manager
Blocked Senders
สร้างรายการผู้ใช้ หรือโดเมนที่ไม่พึงประสงค์ เพื่อไม่ต้องการรับอีเมล์
Allowed Mailing Lists
เพิ่ม e-mail addresses หรือ domains ของ mailing list ที่ได้รับอนุญาต อีเมล์ขาเข้าที่ถูกส่งจาก mailing list ที่คุณได้สมัครไว้จะไม่ถูกดักจับว่าเป็นแสปม
Content Filtering
เพิ่ม , แก้่ไข, หรือลบ การกลั่นกรองเนื้อหาอีเมล์
Preferences
ตั้งค่ารายละเอียดการแสดงผลอีเมล์
Summaries
ตั้งค่าความถี่ในการส่งรายการสรุป Junk mail
Password
เปลี่ยน password สำหรับการเข้าถึง Junk Mail Manager
Trash [Empty]
สั่งลบอีเมล์ที่อยู่ในถังขยะอย่างถาวร ( อีเมล์ที่ถูกลบจาก My Junk Mail จะถูกเก็บไว้ที่โฟลเดอร์ Trash)
Help
เปิดคู่มือเพื่อขอความช่วยเหลือ
Logout
ออกจาก Junk Mail Manager
คำอธิบายไอคอน ที่ปรากฏทางด้านซ้ายมือของ Junk Mail Manager
Icon
Name
Indicates that...
Unread
อีเมล์ที่ยังไม่ถูกเปิดอ่าน
Read
อีเมล์ที่ถูกเปิดอ่านแล้ว
Attachment
อีเมล์ที่มีไฟล์แนบมาด้้วย
Highest
อีเมล์ที่ถูกกำหนดว่า มีความสำคัญสูงสุด
High
อีเมล์ที่ถูกกำหนดว่า มีความสำคัญสูง
Low
อีเมล์ที่ถูกกำหนดว่า มีความสำคัญต่ำ
Lowest
อีเมล์ที่ถูกกำหนดว่า มีความสำคัญต่ำมาก

การใช้คำสั่งจัดการ Quarantined Message
ใน Junk Mail Manager คุณสามารถจัดการอีเมล์ที่ถูกดักจับไว้ โดย 4 วิธี ดังต่อไปนี้
You can...
What happens
Delete it.

ลบเมล์จาก My Junk Mail Folder อีเมล์ที่ถูกลบจะถูกเก็บไว้ที่ โฟลเดอร์ Trash, ซึ่งคุณสามารถจะลบอีเมล์จาก Trash folder.
Deliver it.

อีเมล์ที่ถูกกักเก็บไว้ใน Quarantine จะถูกส่งเข้าไปยังอีเมล์ account ของคุณ
Approve it.

อีเมล์ที่ได้รับการอนุมัติ (Approved) จะถูกส่งเข้าไปยังเมล์บอกซ์ของคุณ ในครั้งต่อไปอีเมล์ที่ได้รับการอนุมัติ จะถูกส่งไปยังเมล์บอกซ์ของคุณโดยไม่ผ่านระบบกลั่นกรองอีเมล์ ซึ่งใช้ในกรณีที่อีเมล์บางฉบับ อาจถูกจัดว่า้เป็นแสปม
Do nothing.
ไม่ต้องทำอะไร ระบบจะทำการลบแสปมเมล์ให้คุณโดยอัตโนมัติ ตามกำหนดที่แจ้งไว้ในอีเมล์รายการสรุป
การลบอีเมล์
คลิืก My Junk Mail จากลิงค์ด้านซ้ายมือ
คลิก เช็คบ็อกซ์ฺ หน้า e-mail ที่ต้องการลบ หรือ เปิดอีเมล์โดยคลิกที่รายการจดหมายภายใต้คอลัมน์ Subject
คลิก Delete .จดหมายจะถูกเก็บไว้ที่โฟลเดอร์ Trash ซึ่งคุณสามารถที่จะเรียกคืนได้ก่อนที่คุณจะ Log out จากระบบ ถ้าต้องการเรียกคืนอีเมล์ที่ถูกลบ คลิก Trash เลือกอีเมล์ทีั้ต้องการเก็บไว้ แล้วคลิก Undelete.
คลิก [Empty] หน้่า Trashอีเมล์ที่อยู่ในโฟลเดอร์ Trash จะถูกลบอย่างถาวร
การส่งเมล์จาก Quarantine เข้าไปยัง mailbox
คลิก My Junk Mail จากลิงค์ด้านซ้ายมือ
คลิกเช็คบ็อกซ์หน้าอีเมล์ที่ต้องการส่งเข้าไปยัง mailbox
คลิก Deliver . อีเมล์จะถูกส่งจากระบบ Quarantine ไปเข้า mailbox ตามปกติ


การอนุมัิติอีเมล์
คลิก My Junk Mail จากลิงค์ด้านซ้ายมือ
คลิกเช็คบ็อกซ์หน้าอีเมล์ที่ต้องการส่งเข้าไปยัง mailbox
คลิก Approve . Note : อีเมล์ที่ได้รับการอนุมัติ (Approved) จะถูกส่งเข้าไปยังเมล์บอกซ์ของคุณ ในครั้งต่อไปอีเมล์ที่ได้รับการอนุมัติ จะถูกส่งไปยังเมล์บอกซ์ของคุณโดยไม่ผ่านระบบกลั่นกรองอีเมล์ ซึ่งใช้ในกรณีที่อีเมล์บางฉบับ อาจถูกจัดว่า้เป็นแสปม
Note : เมื่อคุณเลือกที่จะลบ (delete) ส่ง (deliver) หรือ approve อีเมล์ในขณะที่คุณกำัลังเปิดอ่านอีเมล์ อีเมล์ฉบับถัดไปจะถูกแสดงขึ้นมาแทน

การสร้างรายการอีเมล์ หรือโดเมนที่ได้รับอนุญาต (Allowed Senders)
คุณสามารถสร้างรายการผู้ส่งซึ่งได้รับการอนุญาต (Allowed Senders) ให้ส่งอีเมล์เข้ามาในเมล์บอกซ์ของผู้ใช้โดยไม่ผ่านการกรองแสปมเมล์ เพื่อให้มั่นใจว่า อีเมล์ที่สำคัญจะไม่หลุดเข้าไปใน Junk Mail Manager
การส้างรายการผู้ส่งที่ได้รับอนุญาต :
คลิก Allowed Senders จากลิงค์ทางด้านซ้ายมือ
ที่ช่อง E-mail Address or Domain ใส่อีเมล์ หรือโดเมนที่ต้องการอนุญาต


การกำหนดการทำงานของ Junk Mail Manager
คุณสามารถเปลี่ยนแปลงวิธีการที่ Junk Mail Manager กระทำต่อแสปมเมล์ เพื่อให้หยุดแสปมเมล์ หรือไม่ดำเนินการใด ๆ กับ แสปมเมล์โดยการปิดฟังก์ชัี่นการกลั่นกรองอีเมล์ ถ้าคุณหยุดการทำงานของระบบการกลั่นกรองเมล์ อีเมล์ที่ไม่พึงประสงค์จะถูกส่งเข้าไปยังเมล์บอกซ์ของผู้ใช้ โดยไม่ผ่านการกลั่นกรอง
การแก้ไขการทำงานของ Junk Mail Manager
คลิก Controls
คลิก Edit

3.ที่ Select a Filter Condition คลิกเลือกออปชั่นต่อไปนี้:
Normal (only junkmail gets this filter action) : Only system-identified junkmail is subject to your specified filter action.
Exclusive ( ทุกอีเมล์ที่ไม่ใช่จาก Allowed Senders จะถูกฟิลเตอร์) : ทุกอีเมล์จากผู้ส่งที่อยู่ในรายการที่อนญาต (Allowed Senders) list is subject to your specified filter action. อีเมล์จากผู้ส่งในรายการผู้รับที่ได้รับอนุญาต (Allowed Senders) จะถูกส่งเข้าไปยัง inbox
Note: ถ้าคุณเลือก Off ระบบ Junk Mail Manager จะส่งอีเมล์ทุกฉบับเข้าไปยัง mailbox

4. ที่หัวข้อ Select a Filter Action คลิกออปชั่นต่อไปนี้:
Quarantine : อีเมล์ที่ถูกระบุว่าเป็นแสปมจะถูกกักเก็บโดย Junk Mail Manager จนกว่าคุณจะดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือจนกว่าอีเมล์จะหมดอายุ
Discard :แสปมเมล์จะถูกลบทิ้งไม่สามารถกู้คืนได้
5. คลิก Set


การตั้งค่าความถี่ในการส่งเมล์
คุณสามารถตั้งค่าความถี่ในการส่ง Junk Mail Manager Summary ตามต้องการ ดังนี้
คลิก Summaries
เลือกหัวข้อใดหัวข้อหนึ่ง ต่อไปนี้
Never — ไม่ส่ง Junk Mail Manager Summary
Daily — ส่งรายการสรุปวันละครั้ง
Weekly — ส่งรายการสรุปสัปดาห์ละครั้ง
Weekdays — ส่งรายการสรุปทุกวันทำการ ยกเว้นวันหยุดสุดสัปดาห์

(Optional) เลือก Don't send me empty summaries หากคุณไม่ต้องการให้ส่งรายการสรุปหากไม่มีแสปมเมล์
คลิก Set .


การเปลี่ยน Password
คุณสามารถเปลี่ยน Password ในการเข้า Junk Mail Manager ดังนี้
คลิก Password
พิมพ์ Passord เก่าในช่อง Password และพิมพ์ Password ใหม่ใน่อง New Password และ Confirm Password

อุปกรณ์เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตและรูปแบบการให้บริการISP






อุปกรณ์ต่อเชื่อม Internet

1.คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล
2.โทรศัพท์
3.Router,Modem
4.ผู้ให้บริการ ISP โดยให้บริการเกี่ยวกับการจำหน่ายชั่วโมงอินเตอร์เน็ต



รูปแบบผู้ให้บริการ Internet เครือข่าย ISP


ในการติดต่อขอให้ใช้บริการอินเตอร์เน็ตจากผู้ให้บริการมีอยู่ 2 วิธี คือ
1.การสมัครโดยตรงโดยขอผู้ให้ใช้บริการนั้นสามารถทำการติดต่อไปยังศูนย์บริการ ISP แต่ละแห่งได้โดยตรงด้วยการติดต่อยังศูนย์บริการโดยตรง
2.การสมัครโดยการซื้อบริการในรูปแบบชุดสำเร็จรูป ซึ่งสามารถเลือกซื้อชั่วโมงอินเตอร์เน็ตในรูปแบบของ Card หรือ Net Card
บริษัทผู้ให้บริการ Internet (Internet Service Providers) เป็นบริษัทซึ่งเปิดให้บริการเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายอินเตอร์เน็ต (Internet) สำหรับองค์กรธุรกิจต่าง ๆ สถาบันการศึกษา บุคคลทั่วไป ฯลฯ โดยอาจมีขอบเขตให้บริการลูกค้าในเฉพาะเขตพื้นที่จำกัด เช่น ในระดับจังหวัด หรือ ภูมิภาค หรือ อาจมีขอบเขตให้บริการครอบคลุมในระดับประเทศ หรือ ระดับนานาชาติก็ได้ นอกจากให้บริการเชื่อมต่อกับเครือข่าย Internet แล้ว บริษัทผู้ให้บริการ Internet มักมีบริการ Internet อื่น ๆ เสริม เช่น ให้เช่า E-mail Box เพื่อใช้เก็บจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (e-Mail)


การนำเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราเข้าเชื่อมกับระบบอินเทอร์เน็ต สามารถกระทำได้ 2 ลักษณะ คือ การเชื่อมต่อโดยตรง การเชื่อมต่อแบบนี้จะเป็นการนำระบบของเราเข้าเชื่อมต่อโดยตรงกับสายหลัก (Backbone) ของอินเทอร์เน็ต โดยผ่านอุปกรณ์ที่เรียกว่า เกตเวย์ (Gateway) หรือ เร้าเตอร์ (Router) ร่วมกับสายสัญญาณความเร็วสูง โดยเราจะต้องติดต่อโดยตรงกับ InterNIC ซึ่งเป็นองค์กรที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการรับสมัครเป็นสมาชิกของชุมชนอินเทอร์เน็ต เพื่อขอชื่อโดเมนและติดตั้งเกตเวย์เข้ากับสายหลัก การเชื่อมต่อแบบนี้จะสามารถติดต่อกับอินเทอร์เน็ตได้ตลอดเวลา จึงเหมาะสำหรับองค์กรที่ต้องการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นในระบบ 24 ชั่วโมง แต่อย่างไรก็ดี ค่าใช้จ่ายในการเชื่อมต่อลักษณะนี้จะมีราคาแพงมากทั้งทางด้านอุปกรณ์และการบำรุงรักษา การเชื่อมต่อผ่านทางผู้ให้บริการ ผู้ให้บริการการเชื่อมต่อเข้าระบบอินเทอร์เน็ต (Internet Service Provider) หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า ไอเอสพี (ISP) จะเป็นองค์กรๆ หนึ่งที่ทำการติดตั้งและดูแลเครื่องสำหรับให้บริการ (Server) ที่ต่อตรงเข้ากับระบบอินเทอร์เน็ต ซึ่งอนุญาตให้ผู้สมัครเป็นสมาชิกขององค์กรนำระบบของตนเข้ามาเชื่อมต่อได้ ISP จึงเปรียบเสมือนช่องทางผ่านเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ต ซึ่งหลังจากที่เราเชื่อมต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ตได้แล้ว เราก็สามารถจะเชื่อมต่อไปยังที่ใดก็ได้ในระบบ ในการเชื่อมต่อผ่านทาง ISP นี้ยังแบ่งลักษณะการเชื่อมต่อออกเป็น 2 ประเภท ตามความต้องการใช้งานของสมาชิก ดังนี้การเชื่อมต่อแบบองค์กร (Coorporate User Services) เป็นองค์กรที่มีการจัดตั้งระบบเครือข่ายใช้งานภายในองค์กรอยู่แล้ว จะสามารถนำเครื่องแม่ข่าย (Server) ของเครือข่ายนั้นๆ เข้าเชื่อมกับ ISP เพื่อเชื่อมโยงเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตได้ การเชื่อมโยงส่วนบุคคล (Individual User Services) บุคคลธรรมดาทั่วไปสามารถขอเชื่อมต่อเข้าสู่อินเทอร์เน์ตได้ โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้อยู่เชื่อมต่อผ่านทางสายโทรศัพท์ ผ่านอุปกรณ์ที่เรียกว่าโมเด็ม (Modem) ซึ่งค่าใช้จ่ายไม่สูงมากนัก โดยติดต่อขอใช้บริการผ่านการสมัครเป็นสมาชิกของ ISP ซึ่งอาจจะเป็นสมาชิกรายชั่วโมง รายเดือน หรือเป็นลักษณะสมาชิกสำเร็จรูป แล้วแต่ทาง ISP นั้นๆ จะให้บริการ โดยทาง ISP จะให้ชื่อบัญชี (Internet Account Name) และรหัสผ่าน (Password) สำหรับสมาชิกแต่ละคนสำหรับใช้ในการเชื่อมต่อเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ต

ความหมายและความเป็นมาของ Internet






ความหมาย Internet



อินเตอร์เน็ต คือ เครือข่ายขนาดใหญ่ที่เชื่อมต่อระบบต่างๆ จากทั่วมุมโลกเข้าด้วยกันไม่ว่าจะเป็นสถาบันการศึกษา องค์กร หน่วยงานทั้งงานราชการและเอกชน ซึ่งมีข้อมูลมากมายที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้
อินเตอร์เน็ต คือ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดมหึมาที่เชื่อมโยงเอา
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ย่อย ๆ ทั่วโลก เข้าไว้ด้วยกันเครือข่าย คือ ขื่อเรียกกลุ่มของคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ที่เชื่อมต่อกัน เพื่อให้สามารถแบ่งปันข้อมูลและทรัพยากรอื่นๆ เช่นคอมพิวเตอร์สำนักงานมักเชื่อมต่อกันเพื่อให้สามารถใช้แฟ้นข้อมูลและเครื่องพิมพ์ร่วมกันกับคอมพิวเตอร์ทั้งหมดบนอินเตอร์เน็ตในอีกซีกโลกหนึ่งจะง่ายพอ ๆ กับการคุยกับคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในห้องติดกันเมื่อไรก็ตามที่คอมพิวเตอร์ของคุณต่อเข้ากับ อินเตอร์เน็ตก็เปรียบเหมือนกับตัวแมงมุมกลางใยแมงมุมขนาดมหึมาซึ่งใยแมงมุมแต่ละเส้น นำข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องนำมาสู่คอมพิวเตอร์
อินเทอร์เน็ต (Internet) หมายถึง

เครือข่ายคอมพิวเตอร์นานาชาติ ที่มีสายตรงเชื่อมต่อไปยังสถาบันหรือหน่วยงานต่าง ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้ทั่วโลก. ผู้ใช้เครือข่ายนี้สามารถสื่อสารถึงกันได้ทางอีเมล์ สามารถสืบค้นข้อมูลและสารสนเทศ รวมทั้งคัดลอกแฟ้มข้อมูลและโปรแกรมมาใช้ได้. อย่างไรก็ตาม มีผู้เปรียบเทียบว่า อินเทอร์เน็ตเป็นเหมือนทางหลวงระหว่างประเทศ แต่ละประเทศจะต้องมีถนนเข้ามาเชื่อมต่อเข้าไปในประเทศ กล่าวคือ จะต้องมีเครือข่ายภายในรับช่วงต่ออีกทอดหนึ่ง (เช่น เครือข่ายภายในมหาวิทยาลัย, องค์กร หรือเครือข่ายของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต) มิฉะนั้นก็จะใช้ไม่ได้ผล

ประโยชน์ Internet


ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์(Electronic mail=E-mail) เป็นการส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตโดยผู้ส่งจะต้องส่งข้อความไปยังที่อยู่ของผู้รับ และแนบไฟล์ไปได้
เทลเน็ต(Telnet) การใช้งานคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งที่อยู่ไกล ๆ ได้ด้วยตนเอง เช่น สามารถเรียกข้อมูลจากโรงเรียนมาทำที่บ้านได้ การโอนถ่ายข้อมูล(File Transfer Protocol ) ค้นหาและเรียกข้อมูลจากแหล่งต่างๆมาเก็บไว้ในเครื่องของเราได้ ทั้งข้อมูลประเภทตัวหนังสือ รูปภาพและเสียง การสืบค้นข้อมูล (Gopher,Archie,World wide Web) การใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตในการค้นหาข่าวสารที่มีอยู่มากมาย ใช้สืบค้นข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ทั่วโลกได้ การแลกเปลี่ยนข่าวสารและความคิดเห็น(Usenet) เป็นการบริการแลกเปลี่ยนข่าวสารและแสดงความคิดเห็นที่ผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตทั่วโลก แสดงความคิดเห็นของตน โดยกลุ่มข่าวหรือนิวกรุ๊ป(Newgroup)แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน การสื่อสารด้วยข้อความ (Chat,IRC-Internet Relay chat) เป็นการพูดคุย โดยพิมพ์ข้อความตอบกัน ซึ่งเป็นวิธีการสื่อสารที่ได้รับความนิยมมากอีกวิธีหนึ่ง การสนทนากันผ่านอินเทอร์เน็ตเปรียบเสมือนเรานั่งอยู่ในห้องสนทนาเดียวกัน แม้จะอยู่คนละประเทศหรือคนละซีกโลกก็ตาม การซื้อขายสินค้าและบริการ(E-Commerce = Electronic Commerce) เป็นการซื้อ - สินค้าและบริการ ผ่านอินเทอร์เน็ต การให้ความบันเทิง (Entertain) บนอินเทอร์เน็ตมีบริการด้านความบันเทิงหลายรูปแบบต่างๆ เช่น รายการโทรทัศน์ เกม เพลง รายการวิทยุ เป็นต้น เราสามารถเลือกใช้บริการเพื่อความบันเทิงได้ตลอด 24 ชั่วโมง



ความเป็นมาของระบบ Internet



อินเตอร์เน็ตถูกพัฒนาโดยกระทรวงกลาโหม ของสหรัฐอเมริกาปี ค.ศ. 1969 ซึ่งหน่วยงานที่ทำหน้าที่ดูแลเครือข่ายมีชือว่า APRA (Advanced Research PojectAgency) เครือข่ายคอมพิวเตอร์นี้มีชื่อว่า อาร์พาเน็ต (ARPANET) เครือข่ายนี้สร้างขึ้นเพื่อการใช้งานทางด้านการทหาร โปรโตคอลที่ใช้ชื่อว่า DARPA ต่อมา ARPA ได้สร้างมาตราฐานในการเชื่อมต่อขึ้นใหม่ เพื่อให้คอมพิวเตอร์ต่างชนิดกันสามารถติดต่อสื่อสาร
กันได้ จึงได้สร้างโปรโตคอลขึ้นมาใหม่ ซึ่งใช้กันมาจนถึงปัจจุบันคือ TCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet Protocol) และเมื่อปี ค.ศ. 1989 มีคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อในเครือข่ายมากขึ้น จึงเปลี่ยนชื่อใหม่ว่า "อินเตอร์เน็ต"โลกวันนี้ได้มาถึงจุดเลี้ยวต่อที่วัฒนธรรมได้หักมุมจากสังคม ที่แต่เดิมมีศูนย์กลาง อยู่ที่เครือข่าย

วิทยุ ทีวีและโทรศัพท์มาสู่เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่อุดมไปด้วยข้อมูลข่าวสาร ซึ่งผลักดัน ให้สังคมก้าวสู่สังคมดิจิทัล (Digital Society) โดยทุกวันนี้ทั่วโลกมีมนุษย์ใช้อินเทอร์เน็ตอยู่ประมาณ 200 ล้านคน หรือร้อยละ 3.2 ของประชากรโลกเฉพาะประเทศสหรัฐอเมริกาแห่งเดียว มีผู้ใช้ถึง 80 ล้านคน (ประมาณร้อยละ 29 ของพลเมืองสหรัฐอเมริกา) จากข้อมูลการสำรวจผู้ใช้อินเทอร์เน็ตของชาวอเมริกัน พบว่าหนึ่งในสามของชาวอเมริกันใช้อินเทอร์เน็ตในการ จับจ่ายสินค้า ผ่านเน็ต ปรึกษาแพทย์ผ่านเน็ต ฟังการถ่ายทอดวิทยุผ่านเน็ต ลงทุนผ่านเน็ต จำนองบ้านผ่านเน็ต ติดตามการขนส่งพัสดุผ่านเน็ต รับทราบข่าวผ่านเน็ต สนทนาโทรศัพท์ผ่านเน็ต รวมทั้งทำกิจกรรมการเมืองผ่านเน็ต และแม้กระทั่งสื่อสารรักกันผ่านเน็ต


วันพุธที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2551

MV Samurai Champloo

เรื่องอะไรไม่น่าเบื่อเท่าเรื่อง 3 เศร้า เฮ้อ...น่าเบื่อที่สุดเลยขี้เกียจไปง้อนะ..พอเราง้อเสร็จ...มานกลับเมินเฉยกะเราซะง้านนนนน แต่กลับมีความลับกับเราแทน...คือว่ามันมีแฟนใหม่แล้ว...เพราะเพื่อนมานบอกไง *0* เลิกกันดีกว่าเนอะ...เป็นเพื่อนอ่ะดีแล้วว^^

MV~ การ์ตูนซสมูไร แชมพลู

ชอบลาสอองเซลที่สุดเลยยยยย