วันพุธที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

วันอังคารที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

วันจันทร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

Slide MV การ์ตูนFMA


วันพฤหัสบดีที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

สไลด์โปรดของฉัน ^^ [ ชอบมากกก ]




การใส่ MV และการทำสไลด์โปรแกรมMovieMaker กับ Cannon

เป็นการสร้างด้วยวิธีการใช้ MovieMaker2.1 กับ โปรแกรมทำสไลด์ภาพหรือแต่งภาพของกล้อง Cannon มาผสานใช้ร่วมกัน แล้วนำมาอัพโหลดขึ้นเว็บ Youtube หลังจากนั้นอัพเดทลงเพื่อเป็นการตกแต่งblog

วิธีทำ

1.เอารูปที่เป็นไฟล์ JPG มาจัดทำลงสไลด์ก่อน

2.เอาคลิปการ์ตูนที่เป็นไฟล์ WMV (ส่วนใหญ่การ์ตูนหาได้จากเน็ต) มาตัดต่อและเอาภาพที่ต้องการมาแต่ง

3.เอาทั้งรูปภาพและการ์ตูนที่ตัดต่อแล้วมารวมกันที่ MovieMaker

(เวลาทำเราสามารถทำที่ Movie Maker หรือที่โปรแกรมทำสไลด์ของCannonเลยก้อได้ เพราเอฟเฟคของ2โปรแกรมนี้มันต่างกัน)

Embed ของ MV นี้

http://www.youtเพิ่มวิดีโอube.com/v/20onUry2XIo&rel=" width="425" height="355" type="application/x-shockwave-flash" wmode="transparent">

ปฏิทินปี 2551,2008


วันเสาร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

กฎหมาย IT และ รูปแบบอาชญากรรมคอมพิวเตอร์



กฎหมายอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ (Computer Crime Law)


เป็นกฎหมายตัวหนึ่งที่มีความล่าช้ามากในบรรดากฎหมายสารสนเทศทั้ง 6 ฉบับ ความล่าช้านั้นก็มาจากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่จะต้องดูตัวอย่างกฎหมายจากหลายๆประเทศที่บังคับใช้ไปก่อนแล้ว เพื่อจะมาปรับเข้ากับบริบทของประเทศไทย แน่นอนครับว่าการคัดลอกมาทั้งหมดโดยไม่คำนึงถึงความแตกต่าง สภาพวัฒนธรรม ความเจริญก้าวหน้าที่ไม่เท่ากันแล้ว ย่อมจะเกิดปัญหาเมื่อนำมาใช้อย่างแน่นอนอีกทั้งเรื่องนี้ยังเป็นเรื่องใหม่ในสังคมไทย และในกระบวนการยุติธรรมของบ้านเราด้วย กฎหมายบางเรื่องต้องใช้เวลานานถึง 5 ปีกว่าจะออกมาใช้บังคับได้ บางเรื่องใช้เวลาถึง 10 ปีเลยทีดียวปัญหาความล่าช้าเป็นอุปสรรคที่สำคัญอย่างหนึ่งในการพัฒนาประเทศของเรา ทั้งนี้ เกิดจากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นระบบงานราชการที่ยุ่งยาก ซับซ้อน ต้องผ่านหลายหน่วยงาน หลายขั้นตอน หรือแม้แต่ระบบการพิจารณาในสภา ที่มีการเปลี่ยนรัฐบาลกันบ่อยๆจึงทำให้ขาดความต่อเนื่อง และยังมีสาเหตุอื่นอีกมากที่ทำให้กฎหมายแต่ละฉบับนั้นออกมาใช้บังคับช้า


ที่มาของกฎหมายอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ ทุกวันนี้คงปฏิเสธไม่ได้ว่าคอมพิวเตอร์เข้าไปมีบทบาทในชีวิตมนุษย์มากขึ้นทุกวัน โดยเฉพาะในยุคแห่งข้อมูลข่าวสารอย่างในปัจจุบันนี้ จะเห็นได้ว่ามีพัฒนาการเทคโนโลยีใหม่ๆเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว รวมทั้งพัฒนาการเทคโนโลยีสารสนเทศด้วย แต่ถึงแม้ว่าพัฒนาการทางเทคโนโลยีสารสนเทศนั้นจะถูกนำมาประยุกต์ใช้และก่อให้เกิดประโยชน์มากมายก็ตาม หากนำไปใช้ในทางที่ไม่ดีไม่ชอบแล้วก็อาจก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงทั้งทางเศรษฐกิจและสังคมได้ ดังนั้นจึงเกิดรูปแบบใหม่ของอาชญากรรมที่เกิดจากการใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือในการกระทำผิดขึ้น จึงจำเป็นต้องมีการพัฒนา กฎหมายอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ (Computer Crime Law) ขึ้นในบางประเทศอาจเรียกว่า กฎหมายเกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์ในทางมิชอบ (Computer Misuse Law) หรือในบางประเทศอาจต้องมีการปรับปรุงแก้ไขประมวลกฎหมายอาญาเพื่อให้รองรับกับความผิดในรูปแบบใหม่ๆได้ ด้วยการกำหนดฐานความผิดและบทลงโทษสำหรับการก่ออาชญากรรมคอมพิวเตอร์ขึ้นเพื่อให้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ สามารถเอาผิดกับผู้กระทำความผิดได้ ในต่างประเทศนั้น มีลักษณะการบัญญัติกฎหมายอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ 2 รูปแบบ คือ การบัญญัติในลักษณะแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา เช่น ประเทศเยอรมนี แคนาดา อิตาลี และสวิสเซอร์แลนด์ ส่วนอีกรูปแบบหนึ่งคือ การบัญญัติเป็นกฎหมายเฉพาะ เช่น ประเทศอังกฤษ สิงคโปร์ มาเลเซีย และสหรัฐอเมริกาสำหรับประเทศไทยนั้น เลือกใช้ในแบบที่สองคือบัญญัติเป็นกฎหมายเฉพาะ จะเห็นได้ว่าแม้รูปแบบกฎหมายของแต่ละประเทศอาจจะแตกต่างกัน แต่การกำหนดฐานความผิดที่เป็นหลักใหญ่นั้นมักจะคล้ายคลึงกัน ทั้งนี้ โดยมากแล้วต่างก็คำนึงถึงลักษณะของการใช้คอมพิวเตอร์ในการกระทำความผิดเป็นสำคัญ กฎหมายที่ออกมาจึงมีลักษณะที่ใกล้เคียงกัน
สภาพปัญหาในปัจจุบัน ปัญหาข้อกฎหมายของอาชญากรรมคอมพิวเตอร์คือ หลักของกฎหมายอาญาที่ระบุว่า ไม่มีโทษโดยไม่มีกฎหมาย (Nulla poena sinelege) และมุ่งคุ้มครองวัตถุที่มีรูปร่างเท่านั้น แต่ในยุคไอทีนั้น ข้อมูลข่าวสารเป็นวัตถุที่ไม่มีรูปร่าง เอกสารไม่ได้อยู่ในแผ่นกระดาษอีกต่อไป ซึ่งกฎหมายที่มีอยู่ไม่อาจขยายการคุ้มครองไปถึงได้ ตัวอย่างของการก่ออาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ ได้แก่ การโจรกรรมเงินในบัญชีลูกค้าของธนาคาร การโจรกรรมความลับของบริษัทต่างๆที่เก็บไว้ในคอมพิวเตอร์ การปล่อยไวรัสเข้าไปในคอมพิวเตอร์ การใช้คอมพิวเตอร์ในการปลอมแปลงเอกสารต่างๆ รวมไปถึงการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการก่อวินาศกรรมด้วย รูปแบบการก่ออาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันทวีความซับซ้อนและรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้เจ้าหน้าที่ตำรวจผู้ทำหน้าที่สืบสวนทำงานได้อย่างยากลำบาก ทั้งยังต้องอ้างอิงอยู่กับกฎหมายอาญาแบบเดิมซึ่งยากที่จะเอาตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษ นักกฎหมายจึงต้องเปลี่ยนแนวความคิดเกี่ยวกับเรื่องนี้โดยสิ้นเชิง โดยเฉพาะในเรื่องทรัพย์ที่ไม่มีรูปร่าง ซึ่งเป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ตัวอย่างเช่น การขโมยโดเมนเนม (Domain Name) ซึ่งไม่มีรูปร่าง ไม่สามารถจับต้องและถือเอาได้ แต่ก็ถือเป็นทรัพย์และยอมรับกันว่ามีมูลค่ามหาศาลปัญหา
อีกประการหนึ่งเกี่ยวกับกฎหมายอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์คือเรื่อง พยานหลักฐาน เพราะพยานหลักฐานที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์นั้นสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลาและกระทำได้ง่าย แต่ยากต่อการสืบหา รวมทั้งยังสูญหายได้ง่ายอีกด้วย เช่น ข้อมูลที่ถูกบันทึกอยู่ในสื่อบันทึกข้อมูลถาวรของเครื่อง (Hard Disk) นั้น หากระหว่างการเคลื่อนย้ายได้รับความกระทบกระเทือนหรือเกิดการกระแทก หรือเคลื่อนย้ายผ่านจุดที่เป็นสนามแม่เหล็ก ข้อมูลที่บันทึกใน Hard Disk ดังกล่าวก็อาจสูญหายได้นอกจากนี้เรื่องอำนาจในการออกหมายค้นก็เป็นสิ่งที่ต้องพิจารณาเช่นกัน เพราะการค้นหาพยานหลักฐานใน Hard Disk นั้นต้องกำหนดให้ศาลมีอำนาจบังคับให้ผู้ต้องสงสัยบอกรหัสผ่านแก่เจ้าหน้าที่ที่ทำการสืบสวนเพื่อให้ทำการค้นหาหลักฐานใน Hard Disk ได้ด้วย นอกจากนั้น ปัญหาเรื่องขอบเขตพื้นที่ก็เป็นเรื่องที่มีความสำคัญ เพราะผู้กระทำความผิดอาจกระทำจากที่อื่นๆที่ไม่ใช่ประเทศไทย ซึ่งอยู่นอกเขตอำนาจของศาลไทย ดังนั้นกฎหมายควรบัญญัติให้ชัดเจนด้วยว่าศาลมีเขตอำนาจที่จะลงโทษผู้กระทำผิดได้ถึงไหนเพียงไร และถ้ากระทำความผิดในต่างประเทศจะถือเป็นความผิดในประเทศไทยด้วยหรือไม ส่วนประเด็นที่สำคัญอีกประการหนึ่งที่ต้องพิจารณาอย่างละเอียดรอบคอบก็คือประเด็นเรื่องอายุของผู้กระทำความผิด เพราะผู้กระทำความผิดทางอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ส่วนมาก โดยเฉพาะ Hacker และ Cracker นั้น มักจะเป็นเด็กและเยาวชน และอาจกระทำความผิดโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์หรือเพราะความคึกคะนองหรือความซุกซนก็เป็นได้

พระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์


พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรมีกฎหมาย ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐”
มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ ในพระราชบัญญัตินี้ “ระบบคอมพิวเตอร์” หมายความว่า อุปกรณ์หรือชุดอุปกรณ์ของคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมการทำงานเข้าด้วยกัน โดยได้มีการกำหนดคำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือสิ่งอื่นใด และแนวทางปฏิบัติงานให้อุปกรณ์หรือชุดอุปกรณ์ทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลโดยอัตโนมัติ“ข้อมูลคอมพิวเตอร์” หมายความว่า ข้อมูล ข้อความ คำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือสิ่งอื่นใดบรรดาที่อยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ในสภาพที่ระบบคอมพิวเตอร์อาจประมวลผลได้ และให้หมายความรวมถึงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ด้วย“ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์” หมายความว่า ข้อมูลเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารของระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งแสดงถึงแหล่งกำเนิด ต้นทาง ปลายทาง เส้นทาง เวลา วันที่ ปริมาณ ระยะเวลาชนิดของบริการ หรืออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการติดต่อสื่อสารของระบบคอมพิวเตอร์นั้น“ผู้ให้บริการ” หมายความว่า(๑) ผู้ให้บริการแก่บุคคลอื่นในการเข้าสู่อินเทอร์เน็ต หรือให้สามารถติดต่อถึงกันโดยประการอื่น โดยผ่านทางระบบคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการให้บริการในนามของตนเอง หรือในนามหรือเพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น(๒) ผู้ให้บริการเก็บรักษาข้อมูลคอมพิวเตอร์เพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น“ผู้ใช้บริการ” หมายความว่า ผู้ใช้บริการของผู้ให้บริการไม่ว่าต้องเสียค่าใช้บริการหรือไม่ก็ตาม“พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้“รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกกฎกระทรวง เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้
หมวด ๑ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
มาตรา ๕ ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้น มิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๖ ผู้ใดล่วงรู้มาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่ผู้อื่นจัดทำขึ้นเป็นการเฉพาะถ้านำมาตรการดังกล่าวไปเปิดเผยโดยมิชอบ ในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๗ ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๘ ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อดักรับไว้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นที่อยู่ระหว่างการส่งในระบบคอมพิวเตอร์และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นมิได้มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะหรือเพื่อให้บุคคลทั่วไปใช้ประโยชน์ได้ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๙ ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๑๐ ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบ เพื่อให้การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นถูกระงับ ชะลอ ขัดขวาง หรือรบกวนจนไม่สามารถทำงานตามปกติได้ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๑๑ ผู้ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอื่นโดยปกปิดหรือปลอมแปลงแหล่งที่มาของการส่งข้อมูลดังกล่าว อันเป็นการรบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่นโดยปกติสุข ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท
มาตรา ๑๒ ถ้าการกระทำความผิดตามมาตรา ๙ หรือมาตรา ๑๐(๑) ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชน ไม่ว่าความเสียหายนั้นจะเกิดขึ้นในทันทีหรือในภายหลัง และไม่ว่าจะเกิดขึ้นพร้อมกันหรือไม่ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท(๒) เป็นการกระทำโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือการบริการสาธารณะ หรือเป็นการกระทำต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี และปรับตั้งแต่หกหมื่นบาทถึงสามแสนบาทถ้าการกระทำความผิดตาม (๒) เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบปีถึงยี่สิบปี
มาตรา ๑๓ ผู้ใดจำหน่ายหรือเผยแพร่ชุดคำสั่งที่จัดทำขึ้นโดยเฉพาะเพื่อนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการกระทำความผิดตามมาตรา ๕ มาตรา ๖ มาตรา ๗ มาตรา ๘ มาตรา ๙ มาตรา ๑๐ หรือมาตรา ๑๑ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๑๔ ผู้ใดกระทำความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ(๑) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน(๒) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน(๓) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรหรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา(๔) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ ที่มีลักษณะอันลามกและข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้(๕) เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม (๑)(๒) (๓) หรือ (๔)
มาตรา ๑๕ ผู้ให้บริการผู้ใดจงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มีการกระทำความผิดตามมาตรา ๑๔ ในระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในความควบคุมของตน ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้กระทำความผิดตามมาตรา ๑๔
มาตรา ๑๖ ผู้ใดนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ปรากฏเป็นภาพของผู้อื่น และภาพนั้นเป็นภาพที่เกิดจากการสร้างขึ้น ตัดต่อ เติม หรือดัดแปลงด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือวิธีการอื่นใด ทั้งนี้ โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้าการกระทำตามวรรคหนึ่ง เป็นการนำเข้าข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยสุจริต ผู้กระทำไม่มีความผิด ความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้ ถ้าผู้เสียหายในความผิดตามวรรคหนึ่งตายเสียก่อนร้องทุกข์ ให้บิดา มารดา คู่สมรส หรือ บุตรของผู้เสียหายร้องทุกข์ได้ และให้ถือว่าเป็นผู้เสียหาย
มาตรา ๑๗ ผู้ใดกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้นอกราชอาณาจักรและ(๑) ผู้กระทำความผิดนั้นเป็นคนไทย และรัฐบาลแห่งประเทศที่ความผิดได้เกิดขึ้นหรือผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษ หรือ(๒) ผู้กระทำความผิดนั้นเป็นคนต่างด้าว และรัฐบาลไทยหรือคนไทยเป็นผู้เสียหายและผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษจะต้องรับโทษภายในราชอาณาจักร


หมวด๒พนักงานเจ้าหน้าที่มาตรา ๑๘ ภายใต้บังคับมาตรา ๑๙ เพื่อประโยชน์ในการสืบสวนและสอบสวนในกรณีที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ เฉพาะที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการใช้เป็นหลักฐานเกี่ยวกับการกระทำความผิดและหาตัวผู้กระทำความผิด(๑) มีหนังสือสอบถามหรือเรียกบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้มาเพื่อให้ถ้อยคำ ส่งคำชี้แจงเป็นหนังสือ หรือส่งเอกสาร ข้อมูล หรือหลักฐานอื่นใดที่อยู่ในรูปแบบที่สามารถเข้าใจได้(๒) เรียกข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์จากผู้ให้บริการเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารผ่านระบบคอมพิวเตอร์หรือจากบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้อง(๓) สั่งให้ผู้ให้บริการส่งมอบข้อมูลเกี่ยวกับผู้ใช้บริการที่ต้องเก็บตามมาตรา ๒๖ หรือที่อยู่ในความครอบครองหรือควบคุมของผู้ให้บริการให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่(๔) ทำสำเนาข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ จากระบบคอมพิวเตอร์ที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ในกรณีที่ระบบคอมพิวเตอร์นั้นยังมิได้อยู่ในความครอบครองของพนักงานเจ้าหน้าที่(๕) สั่งให้บุคคลซึ่งครอบครองหรือควบคุมข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์ ส่งมอบข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ดังกล่าวให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่(๖) ตรวจสอบหรือเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์ของบุคคลใด อันเป็นหลักฐานหรืออาจใช้เป็นหลักฐานเกี่ยวกับการกระทำความผิด หรือเพื่อสืบสวนหาตัวผู้กระทำความผิดและสั่งให้บุคคลนั้นส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ ที่เกี่ยวข้องเท่าที่จำเป็นให้ด้วยก็ได้(๗) ถอดรหัสลับของข้อมูลคอมพิวเตอร์ของบุคคลใด หรือสั่งให้บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการเข้ารหัสลับของข้อมูลคอมพิวเตอร์ ทำการถอดรหัสลับ หรือให้ความร่วมมือกับพนักงานเจ้าหน้าที่ในการถอดรหัสลับดังกล่าว(๘)ยึดหรืออายัดระบบคอมพิวเตอร์เท่าที่จำเป็นเฉพาะเพื่อประโยชน์ในการทราบรายละเอียดแห่งความผิดและผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา ๑๙ การใช้อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๑๘ (๔) (๕) (๖) (๗) และ(๘) ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อมีคำสั่งอนุญาตให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการตามคำร้อง ทั้งนี้ คำร้องต้องระบุเหตุอันควรเชื่อได้ว่าบุคคลใดกระทำหรือกำลังจะกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดอันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ เหตุที่ต้องใช้อำนาจ ลักษณะของการกระทำความผิด รายละเอียดเกี่ยวกับอุปกรณ์ที่ใช้ในการกระทำความผิดและผู้กระทำความผิด เท่าที่สามารถจะระบุได้ ประกอบคำร้องด้วยในการพิจารณาคำร้องให้ศาลพิจารณาคำร้องดังกล่าวโดยเร็วเมื่อศาลมีคำสั่งอนุญาตแล้ว ก่อนดำเนินการตามคำสั่งของศาล ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ส่งสำเนาบันทึกเหตุอันควรเชื่อที่ทำให้ต้องใช้อำนาจตามมาตรา ๑๘ (๔) (๕) (๖) (๗) และ (๘) มอบให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองระบบคอมพิวเตอร์นั้นไว้เป็นหลักฐาน แต่ถ้าไม่มีเจ้าของหรือผู้ครอบครองเครื่องคอมพิวเตอร์อยู่ ณ ที่นั้น ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ส่งมอบสำเนาบันทึกนั้นให้แก่เจ้าของหรือผู้ครอบครองดังกล่าวในทันทีที่กระทำได้ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้เป็นหัวหน้าในการดำเนินการตามมาตรา ๑๘ (๔) (๕) (๖) (๗) และ(๘)ส่งสำเนาบันทึกรายละเอียดการดำเนินการและเหตุผลแห่งการดำเนินการให้ศาลที่มีเขตอำนาจภายในสี่สิบแปดชั่วโมงนับแต่เวลาลงมือดำเนินการ เพื่อเป็นหลักฐานการทำสำเนาข้อมูลคอมพิวเตอร์ตามมาตรา ๑๘ (๔) ให้กระทำได้เฉพาะเมื่อมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ และต้องไม่เป็นอุปสรรคในการดำเนินกิจการของเจ้าของหรือผู้ครอบครองข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นเกินความจำเป็น การยึดหรืออายัดตามมาตรา ๑๘ (๘) นอกจากจะต้องส่งมอบสำเนาหนังสือแสดงการยึดหรืออายัดมอบให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองระบบคอมพิวเตอร์นั้นไว้เป็นหลักฐานแล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่จะสั่งยึดหรืออายัดไว้เกินสามสิบวันมิได้ ในกรณีจำเป็นที่ต้องยึดหรืออายัดไว้นานกว่านั้น ให้ยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อขอขยายเวลายึดหรืออายัดได้ แต่ศาลจะอนุญาตให้ขยายเวลาครั้งเดียวหรือหลายครั้งรวมกันได้อีกไม่เกินหกสิบวัน เมื่อหมดความจำเป็นที่จะยึดหรืออายัดหรือครบกำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องส่งคืนระบบคอมพิวเตอร์ที่ยึดหรือถอนการอายัดโดยพลัน หนังสือแสดงการยึดหรืออายัดตามวรรคห้าให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา ๒๐ ในกรณีที่การกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้เป็นการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ ที่อาจกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร ตามที่กำหนดไว้ในภาคสองลักษณะ ๑ หรือลักษณะ ๑/๑ แห่งประมวลกฎหมายอาญา หรือที่มีลักษณะขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน พนักงานเจ้าหน้าที่โดยได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีอาจยื่นคำร้อง พร้อมแสดงพยานหลักฐานต่อศาลที่มีเขตอำนาจขอให้มีคำสั่งระงับการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นได้ ในกรณีที่ศาลมีคำสั่งให้ระงับการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ตามวรรคหนึ่ง ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทำการระงับการทำให้แพร่หลายนั้นเอง หรือสั่งให้ผู้ให้บริการระงับการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นก็ได้
มาตรา ๒๑ ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่พบว่า ข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดมีชุดคำสั่งไม่พึงประสงค์รวมอยู่ด้วย พนักงานเจ้าหน้าที่อาจยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อขอให้มีคำสั่งห้ามจำหน่ายหรือเผยแพร่ หรือสั่งให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นระงับการใช้ ทำลายหรือแก้ไขข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นได้ หรือจะกำหนดเงื่อนไขในการใช้ มีไว้ในครอบครอง หรือเผยแพร่ชุดคำสั่งไม่พึงประสงค์ดังกล่าวก็ได้ชุดคำสั่งไม่พึงประสงค์ตามวรรคหนึ่งหมายถึงชุดคำสั่งที่มีผลทำให้ข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือระบบคอมพิวเตอร์หรือชุดคำสั่งอื่นเกิดความเสียหาย ถูกทำลาย ถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมขัดข้อง หรือปฏิบัติงานไม่ตรงตามคำสั่งที่กำหนดไว้ หรือโดยประการอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวงทั้งนี้ เว้นแต่เป็นชุดคำสั่งที่มุ่งหมายในการป้องกันหรือแก้ไขชุดคำสั่งดังกล่าวข้างต้น ตามที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มาตรา ๒๒ ห้ามมิให้พนักงานเจ้าหน้าที่เปิดเผยหรือส่งมอบข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลของผู้ใช้บริการ ที่ได้มาตามมาตรา ๑๘ ให้แก่บุคคลใดความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับกับการกระทำเพื่อประโยชน์ในการดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ หรือเพื่อประโยชน์ในการดำเนินคดีกับพนักงานเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับการใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ หรือเป็นการกระทำตามคำสั่งหรือที่ได้รับอนุญาตจากศาลพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ใดฝ่าฝืนวรรคหนึ่งต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๒๓ พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ใดกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นล่วงรู้ข้อมูลคอมพิวเตอร์ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลของผู้ใช้บริการ ที่ได้มาตามมาตรา ๑๘ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๒๔ ผู้ใดล่วงรู้ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์หรือข้อมูลของผู้ใช้บริการ ที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้มาตามมาตรา ๑๘ และเปิดเผยข้อมูลนั้นต่อผู้หนึ่งผู้ใด ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา ๒๕ ข้อมูล ข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้มาตามพระราชบัญญัตินี้ ให้อ้างและรับฟังเป็นพยานหลักฐานตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาหรือกฎหมายอื่นอันว่าด้วยการสืบพยานได้ แต่ต้องเป็นชนิดที่มิได้เกิดขึ้นจากการจูงใจมีคำมั่นสัญญา ขู่เข็ญ หลอกลวง หรือโดยมิชอบประการอื่น
มาตรา ๒๖ ผู้ให้บริการต้องเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ไว้ไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันนับแต่วันที่ข้อมูลนั้นเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ แต่ในกรณีจำเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่จะสั่งให้ผู้ให้บริการผู้ใดเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ไว้เกินเก้าสิบวัน แต่ไม่เกินหนึ่งปีเป็นกรณีพิเศษเฉพาะรายและเฉพาะคราวก็ได้ ผู้ให้บริการจะต้องเก็บรักษาข้อมูลของผู้ใช้บริการเท่าที่จำเป็นเพื่อให้สามารถระบุตัวผู้ใช้บริการ นับตั้งแต่เริ่มใช้บริการและต้องเก็บรักษาไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันนับตั้งแต่การใช้บริการสิ้นสุดลง ความในวรรคหนึ่งจะใช้กับผู้ให้บริการประเภทใด อย่างไร และเมื่อใด ให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษาผู้ให้บริการผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรานี้ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าแสนบาท
มาตรา ๒๗ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของศาลหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ที่สั่งตามมาตรา ๑๘ หรือมาตรา ๒๐ หรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของศาลตามมาตรา ๒๑ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองแสนบาทและปรับเป็นรายวันอีกไม่เกินวันละห้าพันบาทจนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง
มาตรา ๒๘ การแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้รัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้มีความรู้และความชำนาญเกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์ และมีคุณสมบัติตามที่รัฐมนตรีกำหนด
มาตรา ๒๙ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามีอำนาจรับคำร้องทุกข์หรือรับคำกล่าวโทษ และมีอำนาจในการสืบสวนสอบสวนเฉพาะความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ในการจับ ควบคุม ค้น การทำสำนวนสอบสวนและดำเนินคดีผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ บรรดาที่เป็นอำนาจของพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ หรือพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ประสานงานกับพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบเพื่อดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ต่อไป ให้นายกรัฐมนตรีในฐานะผู้กำกับดูแลสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และรัฐมนตรีมีอำนาจ ร่วมกันกำหนดระเบียบเกี่ยวกับแนวทางและวิธีปฏิบัติในการดำเนินการตามวรรคสอง
มาตรา ๓๐ ในการปฏิบัติหน้าที่ พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจำตัวต่อบุคคลซึ่งเกี่ยวข้อง บัตรประจำตัวของพนักงานเจ้าหน้าที่ให้เป็นไปตามแบบที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์นายกรัฐมนตรี
* หมายเหตุ* : เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากในปัจจุบันระบบคอมพิวเตอร์ได้เป็นส่วนสำคัญ ของการประกอบกิจการ และการดำรงชีวิตของมนุษย์ หากมีผู้กระทำด้วยประการใด ๆ ให้ระบบคอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำงานตามคำสั่งที่กำหนดไว้ หรือทำให้การทำงานผิดพลาดไปจากคำสั่งที่กำหนดไว้ หรือใช้วิธีการใด ๆ เข้าล่วงรู้ข้อมูล แก้ไข หรือทำลายข้อมูลของบุคคลอื่น ในระบบคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ หรือใช้ระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อเผยแพร่ข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ หรือมีลักษณะอันลามกอนาจาร ย่อมก่อให้เกิดความเสียหาย กระทบกระเทือนต่อเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงของรัฐ รวมทั้งความสงบสุขและศีลธรรมอันดีของประชาชน สมควรกำหนดมาตรการเพื่อป้องกันและปราบปรามการกระทำดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้


รูปแบบอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ แบ่งตามประเภทที่ร้ายแรงได้ 5 ประเภท คือ

1.แฮกเกอร์ (Hacker) คือพวกไปแอบดู ที่ปกติแล้วการแอบดูก็ไม่ใช่ความผิด แต่สมัยนี้ที่เป็นสังคมแบบ Knowledge economy คือเศรษฐกิจที่มีรายได้ที่เกิดจากความรู้ ความรู้ที่ว่านี้ไปสร้างอาชญากรรมได้ คือ ไปแอบดู password แอบดูข้อมูลสำคัญ ๆ เช่น ข้อสอบ หรือความรู้อื่น ๆ และเนื่องจากคอมพิวเตอร์นี้สามารถเก็บข้อมูลได้เป็นจำนวนมาก การเข้าไปลักลอบแอบดูข้อมูลของผู้อื่นจึงทำได้มากเช่นกัน "ผู้ที่มีความสามารถด้านเทคโนโลยี ประกอบกับเทคโนโลยีเหล่านี้มีจุดโหว่ เป็นช่องว่างให้เขาเข้ามาดูได้ ซึ่งการมาดูแล้วทราบในสิ่งเล็กน้อย ก็มีความผิดเพียงเล็กน้อยเท่านั้นเองในกฎหมายเก่า กฎหมายใหม่จึงต้องกำหนดให้ชัดเจนว่าการเข้าไปดูข้อมูลที่เขาไม่ได้อนุญาตินั้น เป็นการกระทำที่เป็นความผิดอาญา เช่นการไปแอบดูบัตรเครดิตคนอื่น" 2.แครกเกอร์ (Cracker) คือพวกที่ทำความเสียหายในระบบ เช่น เข้าไปโกง ฟอกเงิน เผยแพร่อนาจารผู้เยาว์ เข้าไปบิดเบือนข้อมูล เข้าไปขโมยข้อมูลความลับของบริษัทเอกชน หรือเข้าไปขโมยข้อมูลความลับของชาติ ซึ่งก็ถือว่าเป็นอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ที่ร้ายแรงที่สุด 3.เผยแพร่ไวรัส พวกนี้แม้ว่าจะไม่ได้ทำอาชญากรรมโดยตรง แต่เป็นพวกที่จับยากที่สุด เพราะไวรัสเผยแพร่เร็วและขยายวงกว้าง ซึ่งปัจจุบันกฎหมายที่ควบคุมไวรัสนี้ ก็ยังไม่ค่อยมี มีแต่กฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกาที่ค่อนข้างทันสมัย ทางกระทรวงไอซีทีจึงจะมีการยกร่างกฎหมายเกี่ยวกับไวรัสขึ้นมา ซึ่งเนื้อหาก็ใกล้เคียงกับกฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกา กำจัดภาพโป๊อนาจารแบบรื้อเครือข่าย 4..ภาพโป๊ อนาจาร ส่วนนี้ไม่มีใครทำฟรี ต้องมีสปอนเซอร์ มีการเก็บเงิน มีสมาชิก ซึ่งจากการสังเกตพบว่ามีเป็นจำนวนมาก ในส่วนนี้ทางกระทรวงสามารถคุมได้หมด เพราะส่วนใหญ่ก็ทำจากเครื่อง PC และส่วนใหญ่ก็มีเงื่อนไขของการเก็บเงิน ที่ถ้าจะให้จับอย่างจริง ๆ จัง ๆ แล้ว ก็ไม่มีใครอยู่รอดแน่นอน "ทุกวันนี้เราใช้ filter อย่างเดียว คือป้องกันไม่ให้คนมาเปิดดู คือ บล็อกที่ ISP ไม่ให้เปิดดูเว็บไซด์นี้ได้ ซึ่งก็เป็นแค่การบล็อกที่ ISP เท่านั้น ไม่ได้ไปจัดการที่ต้นทาง คนที่ทำเว็บไซด์นี้ก็รอด แต่ต่อไปจะมีการไปตามจับคนที่ทำเว็บไซด์เหล่านี้แล้ว ซึ่งก็รับรองว่าตามตัวคนที่ทำเจอแน่ เพราะสามารถ check ทั้ง Protocal , TCP/IP หรือ internet protocal เป็น Protocal ของทหาร ฉะนั้น สามารถ check ได้ตลอด เพียงแต่ว่าจะตามตัวหรือไม่เท่านั้น ซึ่งสำหรับเว็บไซด์โป๊ในประเทศไทยก็มีอยู่ไม่เกิน 120 เว็บ พวกนี้จะมีลิงค์ถึงกันและกัน เป็นเครือข่าย เพื่อหาสมาชิกใหม่ ๆ ที่ยิ่งทำให้เราตามจับได้ง่ายขึ้น" 5.อาชญากรรมในส่วนของการทำธุรกรรมทางอินเตอร์เน็ต โดยเฉพาะเรื่อง ของการซื้อของทางอินเตอร์เน็ตแล้วไม่จ่ายเงิน ส่วนนี้ต่อไปเมื่อ พ.ร.บ.อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ประกาศใช้ จะสามารถตามจับคนที่ทำผิดได้ แต่ก็มีข้อจำกัดที่จับได้เฉพาะการทำความผิดที่เกิดขึ้นในประเทศไทยเท่านั้น เช่นการซื้อของแบบ E-Commerce ที่คนขายอยู่ประเทศหนึ่ง คนซื้อยู่ประเทศหนึ่ง และแหล่งสินค้าก็อาจจะอยู่อีกประเทศหนึ่งก็ได้ ซึ่งเป็นปัญหาเทคโนโลยี มีการทำการค้าในรูปแบบนี้อยู่มากแล้วในปัจจุบัน ซึ่งกฎหมายของไทยก็ยังไม่สามารถบังคับใช้ได้ ทำได้แต่เพียงว่าต้องมีการไปเจรจาแบบทวิภาคีกับแต่ละประเทศไปก่อน

เรื่องเกี่ยวกับ Chat



Chat room

อินเทอร์เน็ต นอกจากจะให้เราได้ค้นหาข้อมูล งานวิจัยต่าง ๆได้มากมายแล้ว ก็ยังหาเพื่อนสนิทชนิดที่เราไม่เคยรู้จักมาก่อนได้ หรือเพื่อประโยชน์ในการแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร ความคิดเห็น หรือปรึกษาปัญหา ก็ตามแต่ การ Chat ก็คือเป็นกิจกรรมยอดฮิตกิจกรรมหนึ่งเลยทีเดียวบางคนอาจแค่คุยกับใครสักคนแก้เซ็ง แต่บางคนอาจจะคุยกับเพื่อนหรือญาติพี่น้องที่อยู่ไกลกันเพื่อประหยัดค่าโทรศัพท์ทางไกล (แต่ก็ลงทุนเสียค่าอินเทอร์เน็ตแทน) “Chat” ในภาษาอังกฤษ แปลว่า สนทนาอย่างเป็นกันเอง สำหรับในอินเทอร์เน็ตก็เช่นกัน ต่างกันเพียงแค่เป็นการคุยโดยใช้วิธีพิมพ์ข้อความลงไปเท่านั้น ไม่ได้ใช้เสียง แต่ก็มีบางโปรแกรมที่สามารถคุยแล้วสามารถเห็นหน้ากัน หรือแม้แต่ได้ยินเสียง อาทิเช่น โปรแกรม ICQ ,Net meeting เป็นต้น ซอฟต์แวร์ประเภทนี้บางตัวคล้าย กับการใช้ห้องสนทนาตามเว็บไซต์ เช่น ICQ ซึ่งมีทั้งความเป็นส่วนตัวโดยการส่งเมสเสจคุยกัน หรือจะรวมกลุ่มเปิดห้องสนทนากันหลายๆ คนก็ได้ถ้าต้องการ แต่ซอฟต์แวร์บางตัวก็เป็นการสนทนากันด้วยเสียงคำพูด(ต้องมีไมโครโฟน) หรือไม่ก็เป็นวิดีโอภาพ(ต้องใช้เว็บแคม)
รูปแบบการ Chat

Chat ตามเว็บไซต์ เราสามารถเข้าไปสนทนากันได้ที่เว็บไซต์ที่จัดให้บริการห้องสนทนา วิธีนี้ไม่ยุ่งยากอะไร ไม่ต้องเสียเงิน โดยเข้าไปในเว็บไซต์ต่างๆ ที่มีห้องสนทนาให้ เช่น
http://www.thaiirc.in.th/ วิธีการก็แค่ เลือกห้องสนทนาที่ต้องการ แล้วลงชื่อ จากนั้นก็จะสามารถเข้าไปสนทนาได้ทันที โดยเป็นการคุยตอบโต้ระหว่างกันผ่านเซิร์ฟเวอร์ โดยใช้บราวเซอร์ปกติ เหมือนท่องอินเทอร์เน็ตทั่วไป โดยนิยาม Text Chat คือ คุณจะต้องพิมพ์ข้อความที่จะคุยลงไปแล้วอีกฝ่ายก็จะตอบกลับมาเป็นข้อความเช่นกัน แต่วิธีการนี้มีข้อเสียคือ จะมีผู้อื่นอยู่ร่วมห้องสนทนากับเราด้วย และผู้อื่นก็สามารถที่จะอ่านได้และเราเองก็จะสามารถอ่านข้อความสนทนาของผู้อื่นได้เช่นกัน และถ้ามีคนอยู่ในห้องสนทนานั้นมากๆ ก็จะทำให้ช้า หรือไม่ก็ทำให้เราอ่านข้อความของคู่สนทนาของเราไม่ทัน
ใช้โปรแกรม Chat โดยเฉพาะ การสนทนากันโดยใช้โปรแกรมที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่ออำนวยความสะดวกในการคุยโดยเฉพาะ ซึ่งมีความสามารถในการคุยสูงกว่าห้องสนทนาตามเว็บไซต์ ตัวอย่างโปรแกรมก็เช่น ICQ, MSN Messenger เป็นต้น โปรแกรม ICQ และ MSN Messenger เป็นโปรแกรมยอดนิยมซึ่งนักเล่นอินเทอร์เน็ตมีกันเกือบทุกคน (100 ล้านกว่าคนทั่วโลกมีโปรแกรมนี้ใช้) มีความสามารถหลากหลาย และตัวนี้เป็นฟรีซอฟต์แวร์ นอกจากนั้นยังมีโปรแกรม Chat ยอดนิยมที่นักเล่นอินเทอร์เน็ตนิยมใช้กันอีกหลายโปรแกรมเช่น Pirch และ mIRC

เสริมความรู้เรื่อง Chat (IRC - Internet Relay Chat)


Internet Relay Chat หรือ IRC คือ ระบบเครือข่าย (ผู้ใช้บริการ/ผู้ให้บริการ) อำนวยความสะดวกในการสื่อสารคุยกันระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยกันในลักษณะ การส่งข้อความโต้ตอบกัน ผู้ใช้งานสามารถที่จะจัดตั้ง Channel , ห้องหรือกลุ่มของตัวเองในการที่จะคุยพร้อมๆ กันหลายๆ คน หรือต้องการคุยในลักษณะส่วนตัวก็สามารถที่จะทำได้ หลังจากที่ท่านเข้าสู่ระบบ Internet แล้ว ผู้ใช้งานที่มีความประสงค์ที่จะใช้งาน IRC จำเป็นที่จะต้องทำการ Join หรือติดต่อกับ Server ที่ให้บริการ IRC เสียก่อน เพื่อให้ Server IRC นั้นเป็นตัวกลางในการส่งข้อความจากท่านไปยังเพื่อนๆ ของท่าน ผ่านโปรแกรมใช้งาน IRC ในฝั่ง ผู้ใช้งานทั่วไป นั้นก็มีด้วยกันหลายโปรแกรม อาทิเช่น IRC II , PIRCH , MIRC , MsChat และอื่นๆ จากนั้นก็สามารถคุยกันได้อย่างสนุกสนาน
ข้อควรระวังในการสนทนาใน Chat Room:
Chat Room เป็นสถานที่สาธารณะ สำหรับทุกคนบนอินเตอร์เน็ต ที่จะได้สนทนากัน ซึ่งได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ดังนั้นมารยาทในการสนทนาจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง ที่ทุกคนควรจะปฏิบัติกัน จริงๆ แล้วมันก็เหมือนการสนทนาทั่วๆ ไป ผู้สนทนาจะต้องมีจิตสำนึกในการรักษามารยาท อย่างไรก็ตามก็มีบางอย่างที่จะต้องปฏิบัติ เพื่อเตือนสติ “แชต” เป็นรูปแบบการสื่อสารอย่างหนึ่งที่ได้รับความนิยมอย่างมากตั้งแต่วัยเด็กจนถึงวัยทำงาน การแชตสามารถเป็นอันตรายสำหรับคนทุกวัยได้ ข้อกำหนดดังกล่าวข้างตนสามารถนำไปใช้ได้ทั้งในเด็กและก็ผู้ใหญ่ แต่ทั้งนี้เด็กๆก็ควรเล่นแชตโดยอยู่ภายใต้การดูแลของผู้ปกครองอยู่เสมอ ผู้ปกครองควรดูแลการใช้งานการแชตของเด็ก เพราะเด็กๆสามารถแชตได้ด้วยการใช้งานซอฟต์แวร์แชต โทรศัพท์มือถือ และให้เด็กๆแชตในเนื้อหาที่เหมาะสม เพื่อความปลอดภัยสำหรับเด็กๆ การใช้โปรแกรมแชตช่วยทำให้เราติดต่อสื่อสารกันสะดวกมากขึ้นก็จริง แต่ก้อมีข้อเสียในเรื่องของความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวบางอย่างอยู่เหมือนกัน ดังนั้นเราต้องใช้โปรแกรมแชตอย่างระมัดระวัง1. ก่อนที่จะเริ่มพิมพ์ คุณควรจะสำรวจการสนทนาของกลุ่ม ที่คุณจะเข้าไปสนทนาด้วยว่าคุณชอบมากแค่ไหน ซึ่งคุณมีสิทธิ์ที่จะเปลี่ยนกลุ่มคุยได้ 2. สนทนาด้วยคำพูดสุภาพนะครับ 3. อย่าแสดงอาการเห็นแก่ตัวในการสนทนา หรือพิมพ์ประโยคยาวเกินไป ถ้าคุณต้องการบรรยายประโยคยาวๆ เราแนะนำว่าคุณควรจะแบ่งเป็นประโยคสั้น แล้วอาศัยการเว้นถ้อยคำ เช่น : "มีใครเคยได้ยินเรื่องนี้มั้ย..." "มีชายสามคนเดินเข้าไปในป่า..." 4. อย่าละเลยการสนทนา ถ้ามีคนถาม ก็ตอบกลับด้วย 5. ห้ามใช้ตัวพิมพ์ใหญ่ทั้งหมดในการสนทนา เพราะเปรียบเสมือนคุณกำลังตะโกนออกไป ควรใช้ตัวพิมพ์ใหญ่อย่างถูกต้อง
6. อย่าแสดงอาการโอ้อวดในวงสนทนา คุณอาจจะถูกแตะออกจากวงสนทนาได้ 7. ศึกษาการใช้ตัวย่อหรือสัญลักษณ์แสดงอารมณ์ จะช่วยให้คุณพิมพ์ประโยคได้สั้นลง 8. พยายามอย่าดึงการสนทนาให้ช้า ถ้าคุณไม่ว่างหรือติดธุระชั่วขณะ ควรแจ้งให้คู่สนทนาทราบด้วย 9. เพื่อความปลอดภัยของคุณ อย่าใช้ชื่อเล่นที่ชักจูงความสนใจมากเกินไป 10.ไม่ว่าคุณจะเป็นผู้ชาย หรือ ผู้หญิง อย่าให้ข้อมูลส่วนตัวของคุณ ไม่ว่าจะเป็นเบอร์โทรศัพท์ ที่อยู่บ้าน ที่ทำงาน หรือ อื่นๆ 11. ข้อควรระวังในการตั้งชื่อเพื่อการใช้งาน Sanook! QQ แต่ละตัว เราไม่ควรตั้งชื่อที่แสดงถึงข้อมูลส่วนตัวใดๆของเรา ชื่อเล่นที่ใช้ควรจะเป็นชื่ออะไรก้อได้ที่ตั้งขึ้นมาเพื่อเป็น ชื่อเล่น เช่น Smartgirl แทนที่จะเป็น Joy2531 12. ระมัดระวังในเรื่องการเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวที่มีความสำคัญ เช่น หมายเลขบัตรเครดิตหรือรหัสผ่าน ในการพูดคุยใน Sanook! QQ 13. หากตัดสินใจที่จะพูดคุยหรือนัดพบกับคนแปลกหน้า ขอให้ระมัดระวังเรื่องความปลอดภัยไว้ด้วย ตัวอย่างเช่น อย่าไปพบกับบุคคลนั้นเพียงคนเดียว (พาเพื่อนหรือผู้ปกครองไปด้วย) นัดพบกันในสถานที่สาธารณะเพื่อความปลอดภัย เช่น ห้างสรรพสินค้า ร้านอาหารต่างๆ ที่มีคนอยู่เป็นจำนวนมาก 14. โปรแกรมแชตบางรายสามารถเชื่อมโยงชื่อใช้งานเข้ากับชื่ออีเมล์ของคุณที่ใช้จดทะเบียน ดังนั้น ยิ่งชื่ออีเมล์ถูกคนเข้าถึงได้มากเท่าไหร่ ก็อาจมีโอกาสได้รับ สแปมเมล์และ ถูกโจรกรรมข้อมูลส่วนบุคคลมากขึ้นเท่านั้น ดังนั้น การใช้โปรแกรมแชตคิวคิวนั้นปลอดภัยกว่าการใช้โปรแกรมแชตอื่นๆ เพราะผู้อื่นไม่สามารถรู้อีเมล์ของผู้ใช้ได้ อย่างไรก็ตามผู้ใช้ควรจะมีมาตรการป้องกันตัวเองจากข้อความที่ไม่พึงประสงค์ อย่าให้เผลอชื่อและอีเมล์แก่คนแปลกหน้า 15. ไม่ควรเปิดหรือดาวน์โหลดรูปภาพ ไฟล์ต่างๆ หรือคลิกที่ลิงก์ในข้อความที่ส่งมาจากบุคคลที่ไม่รู้จัก และหากมาจากบุคลที่รู้จักก็ควรจะสอบถามกับผู้ส่งว่าได้ส่งข้อความและสิ่งที่แนบมาจริงหรือไม่ หากไม่ใช่ให้ปิดโปรแกรมนั้นทันที 16. หากใช้เครื่องคอมพิวเตอร์สาธารณะตามร้าน Internet café ทั่วไป อย่าเลือกตัวเลือกที่อนุญาตให้เข้าระบบได้โดยอัตโนมัติ คนที่ใช้คอมพิวเตอร์ถัดไปอาจจะใช้ชื่อของเราเข้าระบบได้ 17. เราควรตรวจสอบเงื่อนไขและระเบียบข้อบังคับต่างๆ ในการใช้งาน และระเบียบการรักษาความเป็นส่วนตัวก่อนที่จะเข้าไปแชต

วิธีUpload คลิปขึ้นไปบนเว็บ Video.Google.Com





ข้อแนะนำ
- คลิปวิดีโอที่จะอัพต้องเป็นไฟล์นามสกุล avi, mpg, mpeg, mp4, mod, ra, ram, mov, wmv หรือ asf นะคะ - แนะนอนว่าเพื่อนๆ จะต้องมีอีเมล์ของ Gmail ก่อน หากใครยังไม่มีก็ให้โพสต์อีเมล์(ที่ไม่ใช่ Gmail)ไว้ด้านล่างนะคะ จะส่ง Invite ไปให้

ดาวน์โหลดโปรแกรม


>>
ดาวน์โหลดโปรแกรม Google Video Uploader <<


การติดตั้งโปรแกรม
เมื่อดาวน์โหลดไฟล์ติดตั้งมาแล้วเพื่อนก็เพียงแต่ดับเบิ้ลคลิ๊ก ขั้นตอนของการติดตั้งโปรแกรม Google Video Uploader ก็เริ่มขึ้น จากนั้นก็เพื่อนๆ ก็เพียงแต่ทำตามหน้าจอไปเรื่อยๆ จนจบค่ะ


วิธีใช้งาน
1. เปิดโปรแกรม Google Video Uploader จากเมนูดังรูป











2. เมื่อเข้าสู่โปรแกรม Google Video Uploader ก่อนอื่นให้คลิกที่ปุ่ม Options และคลิกเลือกตั้งเลือกทั้งสองดังรูป




3. คลิกปุ่ม Login..


4. ใส่ Username และ Password ของ Gmail คลิกปุ่ม Submit

5. คลิกปุ่ม Add

6. เลือกไฟล์คลิปวิดีโอที่ต้องการ Upload
7. คลิกปุ่ม Upload now
8. จะแสดงสถานะการ Upload ดังรูป ให้ผู้ใช้งานรอจนจะ Upload เสร็จค่ะ


ตรวจสอบสถานะของ Clip Video ที่อัพโหลด
ในเบื้องต้นทาง Google จะทำการตรวจสอบ Clip Video ที่เราได้อัพโหลดว่าผิดศิลธรรมหรือไม่ เราสามารถตรวจสอบสถานะได้ที่นี่ค่ะ
https://upload.video.google.com/
1. เมื่อเข้าสู่หน้าเว็บดังกล่าวแล้วก็ให้ ใส่ username และ password เพื่อทำการ Login (อันเดียวกับที่ใช้ในการ Login โปรแกรม Google Video Uploader)

2. เมื่อ Login เสร็จ ในส่วนของ Video Information ให้เพื่อนๆ ใส่รายละเอียดที่เกี่ยวกับคลิป โดยคลิกที่ปุ่ม Add

3. ทำการใส่รายละเอียด(ภาษาEng เท่านั้น) จากนั้นคลิกปุ่ม Save Video Information ด้านล่าง

4. ให้รอการอนุมัติจากทาง Google ค่ะ

5. อันนี้คือตัวอย่างไฟล์คลิปที่อนุมัติเรียบร้อยแล้ว สามารถเปิดดูได้โดยคลิกที่ " You can view it here."

6. แสดงไฟล์คลิปของเราบน Google Video เรียบร้อยแล้วค่ะ