วันอังคารที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2551

Search engine








Search engine ทำงานอย่างไร

คำนิยาม "เสิร์ชเอนจิ้น" โดยทั่วไปมักจะหมายถึง เสิร์ชเอนจิ้นชนิด crawler-based ที่ทำงานโดยอัตโนมัติตามโปรแกรมที่ตั้งไว้และชนิด directoriesที่ควบคุมการทำงานโดยแรงงานมนุษย์ เสิร์ชเอนจิ้นทั้งสองประเภท ล้วนลิสต์รายชื่อเว็บไซต์นับล้านทั่วโลกเพื่อเก็บไว้ในฐานข้อมูลของตนในวิธีที่แตกต่างกันอย่างมาก

Crawler-Based เสิร์ชเอนจิ้น
เสิร์ชเอนจิ้นชนิดนี้ เช่น Google ลิสต์รายชื่อเว็บไซต์ต่างๆโดยอัตโนมัติ โดยจะส่ง Googlebot (โปรแกรมที่ทำการสำรวจ crawl เว็บไซต์ต่างๆ)หรือทางศัพท์เทคนิคเรียก Spider สำรวจเว็บไซต์ต่างๆและเก็บเว็บไซต์ต่างๆนั้นลงในฐานข้อมูลของตน และเมื่อผู้ชมทำการค้นหาข้อมูลต่างๆเหล่านั้น Google ก็จะแสดงผลการค้นหาที่มีอยู่ในฐานข้อมูลนั้นแก่ผู้ชม ซึ่งถ้าคุณเปลี่ยนแปลงเนื้อหาในแต่ละเว็บเพจ เสิร์ชเอนจิ้นประเภทนี้ก็สามารถที่จะค้นพบการเปลี่ยนแปลงนั้นๆได้ไม่ว่าจะเป็น ชื่อไตเติ้ล (Page Title), เนื้อหา หรือส่วนอื่นใดในเว็บไซต์ก็ตาม

Human-Powered Directories ไดเรกทอรี่ ที่ได้รับการบริหารจัดการโดยผู้ดูแลระบบไดเรกทอรี่
Directories ที่บริหารจัดการโดยผู้ดูแลระบบ เช่น Open Directory ใช้แรงงานมนุษย์เป็นหลักในการลิสต์รายชื่อเว็บไซต์นับล้าน คุณเพียงแค่ submit เว็บไซต์ที่ระบุรายละเอียดโดยย่อเกี่ยวกับเว็บไซต์ของคุณ ให้กับไดเรกทอรี่ ทาง Editor จะทำการตรวจสอบและนำรายชื่อคุณเข้าสู่ฐานข้อมูลของไดเรกทอรี่ ซึ่งถ้ามีผู้ชมค้นหาข้อมูลตรงกับที่คุณเขียนอธิบายรายละเอียดไว้ เว็บไซต์คุณก็จะแสดงผลออกมาในหน้าผลลัพธ์การค้นหา

การเปลี่ยนในเนื้อหาในเว็บเพจแต่ละหน้านั้นไม่มีผลใดๆต่ออันดับที่จะถูกแสดงขึ้นมาในหน้าผลลัพธ์การค้นหาแต่อย่างใด เทคนิคหรือวิธีการใดๆก็ตามที่มีผลให้เว็บไซต์คุณอยู่ในอันดับที่ดีขึ้นใน search engine นั้น จะไม่ส่งผลใดๆต่ออันดับการค้นหาของไดเรกทอรี่แต่อย่างใด เว้นแต่เว็บไซต์คุณมีเนื้อหาที่เป็นประโยชน์และมีคุณภาพ จะได้รับการพิจารณาจาก ผู้ดูแลไดเรกทอรี่ editor มากกว่าเว็บไซต์ที่เนื้อหาไม่เป็นประโยชน์




Hybrid Search Engines เสิร์ชเอนจิ้นลูกผสม
ทุกวันนี้มีพัฒนาการของ เสิร์ชเอนจิ้น ในลักษณะที่นำข้อดีของทั้ง crawler-based และ directories มาใช้งานมากขึ้น แต่โดยปกติแล้วเสิร์ชเอนจิ้นลูกผสม นั้น มักจะให้ผลลัพธ์ในการค้นหาเอียงไปทางใดทางหนึ่งมากกว่าอีกทางหนึ่ง เช่น MSN search นั้น มักจะโอนเอียงไปทางไดเรกทอรี่ที่ดูแลโดย editor มากกว่า crawler-based อาทิเช่น LookSmart (เสิร์ชเอนจิ้นตัวหนึ่งของ MSN) แต่ก็มีการโอนเอียงไปทาง crawler-basedเช่นกัน อาทิเช่น Inktormi (เสิร์ชเอนจิ้นตัวหนึ่งของ MSN)โดยเฉพาะอย่างยิ่งคำค้นหาที่มีความสลับซับซ้อนมากๆ

องค์ประกอบสำคัญของ Crawler-based เสิร์ชเอนจิ้น
องค์ประกอบสำคัญมี 3 ส่วน คือ Spider (สไปเดอร์) หรือที่เรียกว่า Crawler สไปเดอร์จะเข้าทำการสำรวจเว็บเพจ เก็บข้อมูล โดยไล่ไปตามลิ๊งก์ที่อยู่ในแต่ละเว็บเพจนั้นๆและเก็บข้อมูลเหล่านั้นไว้ในฐานข้อมูล ซึ่งสไปเดอร์จะทำการสำรวจเว็บไซต์ต่างๆอยู่อย่างสม่ำเสมอ เช่น ทุกเดือนๆ เพื่อตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงภายในเว็บไซต์นั้นๆ
เมื่อ สไปเดอร์สำรวจเจอข้อมูลใดๆก็ตาม ข้อมูลเหล่านั้นจะถูกส่งไป index อินเด็กซ์ หรือบางครั้งเรียก catalogue แคตตาล็อก index นั้นเปรียบเหมือนกับหนังสือพจนานุกรมเล่มใหญ่มหึหามาที่บรรจุข้อมูลทุกๆเว็บเพจของทุกๆเว็บไซต์ที่สไปเดอร์เข้าทำการสำรวจมาแล้ว ซึ่งถ้าเว็บเพจเปลี่ยนแปลงข้อมูลใน index ก็จะเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย
บางครั้งใช้ระยะเวลาพอประมาณในการที่ข้อมูลของเวบเพจที่เปลี่ยนแปลง หรือเว็บเพจที่เพิ่มขึ้นจะได้รับการ index ถึงแม้ว่า spider จะเข้าทำการสำรวจไปแล้วก็ตามหรือกล่าวได้ว่า สำรวจแล้วแต่ยังไม่ได้รับการบรรจุ (index) เข้าไปในฐานข้อมูลของ เสิร์ชเอนจิ้น

เสิร์ชเอนจิ้น ซอฟท์แวร์ เป็นส่วนที่สามขององค์ประกอบสำคัญของเสิร์ชเอนจิ้น ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ทำการสำรวจข้อมูลที่ได้รับการ index เรียบร้อยแล้วและจัดลำดับความสำคัญข้อมูลเหล่านั้นว่าข้อมูลใดมีความสำคัญมากที่สุด สำหรับคำค้นหาคำหนึ่งๆ เพื่อที่จะแสดงออกมาในหน้าผลลัพธ์การค้นหาของเสิร์ชเอนจิ้น

Crawler-based เสิร์ชเอนจิ้น นั้นล้วนมีองค์ประกอบสำคัญตามที่อธิบายไว้แล้ว แต่ทั้งนี้อาจมีวิธีการที่แตกต่างกันในการลำดับข้อมูล ดังนั้นผลลัพธ์การค้นหาของคีย์เวิร์ดคำเดียวกัน อาจให้ผลลัพธ์ที่แตกต่างกันเมื่อใช้เสิร์ชเอนจิ้นคนละตัวก็เป็นได้ ข้อมูลต่างๆเหล่านี้รวมรวมมาจากหลายๆแหล่งอาทิ อินเตอร์เน็ท หนังสือ หัวข้อข่าว และอื่นๆ รวมถึงส่วนคำอธิบายของเสิร์ชเอนจิ้นแต่ละตัวเองด้วย

หมายเหตุ: บทความนี้ไม่สงวนลิขสิทธิ์แต่อย่างใด สามารถนำไปใช้อ้างอิงเผยแพร่ได้ตามต้องการ ทางบริษัท ทีไอเอส มาร์เก็ตติ้ง จำกัด จะขอบคุณอย่างมากหากคุณอ้างอิงถึงแหล่งที่มาว่ามาจากเว็บไซต์ http://www.tismarketing.com
เสิร์ชเอ็นจิน และไดเรคทอรี

บริการค้นหาเวบเพจที่มีอยู่ในปัจจุบันเช่น AltaVista, Lycos, Yahoo, HotBot, InfoSeek ฯลฯ ซึ่งเรามักเรียกโดยรวมทั้งหมดว่าเป็นเสิร์ชเอ็นจินนั้น แท้ที่จริงแล้วมีบางแห่งมีที่ทำงานด้วยโดยใช้เสิร์ชเอ็นจิน และบางแห่งทำงานด้วยวิธีเก็บเว็บเพจไว้เป็น ไดเรคทอรี ซึ่งมีความแตกต่างกันโดยหลักพื้นฐานการสร้างดัชนีชี้เวบเพจ
ไดเรคเทอรีมีการทำงานที่แตกต่างกับเสิร์ชเอ็นจิน คือใช้การปรับเพิ่มข้อมูลโดยผู้ดูแลระบบเองโดยไม่ได้ทำอย่างอัตโนมัติ หากเวบไซต์ใดที่ต้องการมีรายชื่อในไดเรคเทอรีก็ต้องติดต่อไปยังผู้ดูแลไดเรคเทอรี เพื่อให้ผู้ดูแลจำแนกและจัดเก็บลงในฐานข้อมูล ระบบการเก็บแบบไดเรคเทอรีอาจให้ผลลัพธ์การค้นหาข้อมูลที่ตรงประเด็นมากกว่าเสิร์ชเอ็นจิน เพราะผ่านการแยกหมวดหมู่เองเพื่อให้สามารถค้นหาได้โดยตรง ตัวอย่างของบริการค้นหาที่ใช้ระบบไดเรคเทอรีได้แก่ Yahoo!
สำหรับเสิร์ชเอ็นจินโดยความหมายที่แท้จริงแล้วเป็นระบบซอฟต์แวร์ที่คอยอ่านข้อมูลแต่ละหน้าหรือเวบเพจจากเวบไซต์ต่างๆโดยอัตโนมัติ จากนั้นจึงนำเวบเพจที่อ่านได้มาทำดัชนี เสิร์ชเอ็นจินจะตรวจสอบลิงค์ในแต่ละหน้าของเวบเพจเพื่อเข้าไปอ่านเวบเพจเพื่อทำดัชนีต่อไปอีก ตัวอย่างของเสิร์ชเอ็นจินนี้ได้แก่ Alta Vista หรือ HotBot เป็นต้น
ภายในของเสิร์ชเอ็นจิน

โครงสร้างภายในของเสิร์ชเอ็นจินสามารถแบ่งออกเป็น 3 ส่วนใหญ่ๆ คือ
เสิร์ชเอ็นจิน = สไปเดอร์ + อินเด็กเซอร์ + เสิร์ชเอ็นจินซอฟต์แวร์




เทคนิคในเสิร์ชเอ็นจิน

ผลลัพธ์จากการค้นหาจากเสิร์ชเอ็นจินที่มีใช้งานอยู่ทั่วไปนั้น นอกจากจะได้ลิงค์ของเวบเพจแล้วเสิร์ชเอ็นจินยังแสดงเนื้อหาข้อมูลในเวบเพจนั้นด้วย นั่นหมายความว่าเสิร์ชเอ็นจินจะต้องจัดเก็บข้อมูลที่นำมาแสดงนั้นไว้ในฐานข้อมูล เสิร์ชเอ็นจินแต่ละตัวมีวิธีเลือกเก็บข้อมูลแตกต่างกันไปเช่น เก็บเฉพาะอักขระ 200 ตัวแรกของเวบเพจ เสิร์ชเอ็นจินจะคัดเอาอักขระ 200 ตัวแรกที่ไม่ได้เป็นคำสั่ง HTML มาทำเป็นคำบรรยาย หรือเก็บจำนวนคำที่พบในเพจเพื่อนำมาแสดงเป็นคะแนนว่าเวบเพจที่ค้นได้มีความเกี่ยวข้องกับคำที่ค้นมามากเพียงใด ตัวสไปเดอร์ในเสิร์ชเอนจินจะใช้ทรัพยากรของระบบเป็นจำนวนมาก เสิร์ชเอนจินที่ดีจะมีสไปเดอร์ที่ไม่ใช้ทรัพยากรของระบบสูงมากเกินไปโดยอาศัยเทคนิคดังเช่น ไม่อ่านเอกสาร HTML มากเกินไป แม้ว่าสไปเดอร์ จะมีความสามารถจัดการเอกสารได้ทัน เพราะอาจจะทำให้เครือข่ายทำงานช้าลง อ่านเฉพาะส่วนที่จำเป็นต้องใช้ เช่นอาจจะอ่านมาเฉพาะส่วนที่เป็นตัวอักษร ซึ่งในโปรโตคอล HTTP มีฟิลด์ Accept ซึ่งใช้สำหรับบอกชนิดของข้อมูลที่ต้องการ หากมีการระบุชนิดของข้อมูลลงในฟิลด์นี้ เวบเซิร์ฟเวอร์จะส่งข้อมูลมาเฉพาะชนิดที่ระบุในไฟล์ ตรวจสอบไม่ให้อ่านเวบที่เคยอ่านไปแล้ว ข้อควรระวังของข้อนี้ก็คือ เซิร์ฟเวอร์บางเซิร์ฟเวอร์อาจจะมีชื่อได้หลายชื่อ เช่น web.nexor.co.uk, nercules.nexor.co.uk และ 128.243.219.1 เป็นเซิร์ฟเวอร์ เดียวกัน มัลติเสิร์ชเอ็นจิน นอกไปจากเสิร์ชเอ็นจินแล้ว ในปัจจุบันยังมีมัลติเสิร์ชเอนจิน หรือ เสิร์ชเอนจินแบบขนาน ซึ่งก็คือเสิร์ชเอนจินที่จะส่งคำไปถามหรือเสิร์ชเอนจินหลายๆตัวพร้อมกันในครั้งเดียว แล้วนำผลลัพธ์ที่ได้มารวมและเรียบเรียงใหม่ ตัวอย่างของมัลติเสิร์ชเอนจิน เช่น
Doqpile (http://www.doqpile.com)
Inference Find (http://m5.inference.com/find/)
Metacrawler (http://www.metacrawler.com)
SEARCH.COM (http://www.search.com)

Email











อีเมล์ ( E-mail ) ย่อมาจากคำว่า Electronics Mail ซึ่งก็แปลเป็นไทยได้ว่า ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์นั่นเอง อีเมล์เป็นสิ่งที่ส่งระหว่างผู้หนึ่งไปถึงผู้หนึ่งในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยใช้เวลาเดินทางถึงผู้รับในเวลาไม่กี่นาที เร็วกว่าการส่งจดหมายแบบปกตินับพันนับหมื่นเท่า จึงน่าจะเป็นวิธีการสื่อสารที่มาแทนการส่ง

จดหมายได้อย่างดี จากสถิติของประเทศไทย พบว่าอีเมล์มีผลทำให้การส่งไปรษณีย์ระหว่างประเทศลดลงถึง ๕๐ % ภายในเวลา ๕ ปีที่ผ่านมา คงพอจะเห็นอิทธิพลของอีเมล์ว่าน่าจะทดแทนการส่งจดหมายในอนาคตได้ไม่ยากนัก อีเมล์ ไม่ใช่ส่งได้แค่ข้อความเท่านั้น แต่ยังส่งไฟล์ ( Attach File ) ไปได้ด้วย ทำให้สามารถส่งภาพ และ เสียงไปพร้อมกับอีเมล์ได้ แต่ทุก ๆ อย่างต้องอยู่ในรูปไฟล์ของคอมพิวเตอร์เท่านั้น เนื่องจากระบบอีเมล์เป็นการส่งระหว่างคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งนอกจากนี้อีเมล์สามารถจะส่งบนเครือข่ายภายในองค์กร ( หรือที่นิยมเรียกกันว่า LAN ) หรือ จะส่งผ่าน Internet ก็ได้ แต่อีเมล์ที่จะกล่าวถึงนี้ เป็นอีเมล์ที่ส่งกันใน Internet ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมแพร่หลายอย่างมาก

E-mail Address เป็นข้อความสั้นๆ ที่แสดงที่อยู่ของผู้รับจดหมาย ประกอบด้วย ๓ ส่วน คือ

๑. ชื่อของผู้รับจดหมาย ซึ่งมักจะพบว่าส่วนนี้เป็นชื่อของผู้รับจดหมาย หรือบางคน ก็ใช้เป็นนามสกุล หรือ บางคนก็ชอบใช้เป็นชื่อเล่น หรือชื่อย่อ

๒. เครื่องหมาย @ หรือนิยมเรียกว่า แอ็ต เนื่องจากเสียงอ่านไปพ้องเสียงกับคำว่า At ซึ่งแปลว่า ที่เครื่องหมายนี้ใช้คั่นระหว่างชื่อผู้รับจดหมายกับที่อยู่

๓. ที่อยู่ของผู้รับ ซึ่งมักจะเป็นส่วนหนึ่งของโดเมนเนม หรือ อาจจะมีชื่ออื่น ๆ ปนมาด้วย ก็แล้วแต่ว่าผู้รับจะไปสมัครสมาชิกอีเมล์ไว้ที่ใดก็ได้ที่ผู้เขียนเป็นสมาชิกอีเมล์

ประเภทของ E-mail สามารถแบ่งวิธีการใช้อีเมล์ ได้เป็น ๒ ระบบ










๑. Webmail หมายถึง การเข้าสู่โฮมเพจที่ให้บริการอีเมล์ฟรี วิธีการนี้มีข้อดี คือ สามารถขออีเมล์แอดเดรสจากโฮมเพจเหล่านั้นได้ และ เมื่อต้องการใช้อีเมล์ก็กลับไปยังโฮมเพจนั้น เพื่ออ่าน และ เขียนเมล์ ( Compose Mail ) ได้ง่าย ๆ การใช้อีเมล์ด้วยวิธีนี้ไม่ต้องติดตั้งโปรแกรมอะไรเพิ่ม เพราะเราทำทุกอย่างผ่านโปรแกรมบราวเซอร์ ดังนั้นถ้าคุณมีโปรแกรม Internet Explorer , Netscape Navigator หรือ Opera ก็สามารถใช้งานได้ทันทีการรับส่งอีเมล์โดยผ่านโปรแกรมบราวเซอร์ นั้นลำดับแรกจะต้องเข้าไปสมัครสมาชิกอีเมล์ที่ Website ที่ให้บริการ จากนั้นแล้วจึงเข้าไปใช้งาน ซึ่งต้องทำในโปรแกรมบราวเซอร์ทุกอย่างเหมือนกับการท่องเว็บธรรมดา แต่สามารถรับส่งอีเมล์ได้ง่าย ๆ จึงสามารถใช้ Webmail ได้ทุกที่ที่มี WWW ไม่ว่าจะเป็นที่บ้าน ที่ทำงาน หรือ Internet Café ที่ใด ๆ ในโลก โดยไม่ต้องปรับแต่ง หรือ ติดตั้งอะไรลงในคอมพิวเตอร์เลย













๒. POP Mail เป็นชื่อที่เรียกกันอย่างไม่เป็นทางการของระบบการรับส่งอีเมล์แบบที่ไม่ต้องเชื่อมต่อ Internet อยู่ตลอดเวลา ในการอ่านอีเมล์ และ แต่งอีเมล์ จึงเป็นทางเลือกหนึ่งของการใช้อีเมล์ ซึ่งมีข้อดีข้อเสียต่างจาก Webmail มากพอสมควร คือ จะต้องมีโปรแกรมที่ใช้ในการส่งอีเมล์ เช่น Outlook Express และ Eudora วิธีการนี้มีจุดเด่นตรงที่ ไม่ต้องเชื่อมต่อ Internet ในขณะที่อ่าน หรือ แต่งจดหมาย เรียกวิธีการนี้ว่าการแต่งเมล์แบบ Offline นอกจากนี้สามารถ Download จดหมาย และ เก็บจดหมายไว้ในเครื่องเพื่ออ่าน สิ่งที่คุณต้องจัดเตรียมในการส่งอีเมล์แบบนี้ คือ E-mail Address และ Address ของ Server ที่ทำหน้าที่รับส่งอีเมล์ ซึ่งอาจจะเป็นของ ISP หรือ อาจจะเป็น Server ของ Webmail บางแห่งที่ให้บริการส่งเมล์แบบนี้

Post Office Protocol version 3 (POP3) หรือ พ็อป หรือ เกณฑ์วิธีที่ทำการไปรษณีย์[1] เป็นโปรโตคอลมาตรฐานบนอินเทอร์เน็ต ใช้ในการรับอีเมลจากเซิร์ฟเวอร์ โดยทำงานอยู่บนชุดโปรโตคอล TCP/IP ในปัจจุบันผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตทุกรายให้บริการอ่านอีเมลแบบ POP3

POP3 เป็นการพัฒนาจากโปรโตคอลรุ่นก่อนหน้านี้ คือ POP1 และ POP2 ในปัจจุบันคำว่า POP หมายความถึง POP3

POP3 ออกแบบมาสำหรับผู้ใช้ที่เข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้จำกัด (เช่น ต่ออินเทอร์เน็ตด้วยสายโทรศัพท์) ซึ่งผู้ใช้สามารถดาวน์โหลดอีเมลมาเก็บไว้ และอ่านได้ในภายหลัง โดยไม่ต้องเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต ตรงกันข้ามกับโปรโตคอลในการรับอีเมลที่ใหม่กว่า คือ Internet Message Access Protocol (IMAP) ที่สนับสนุนการอ่านอีเมลทั้งแบบออนไลน์และออฟไลน์ อย่างไรก็ตามมีผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตที่สนับสนุน IMAP ด้วยน้อยกว่า POP3

Simple Mail Transfer Protocol (SMTP) เป็นโปรโตคอลสำหรับส่งอีเมลในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

SMTP เป็นโปรโตคอลแบบข้อความที่เรียบง่าย ทำงานอยู่บนโปรโตคอล TCP พอร์ต 25 ในการส่งอีเมลไปยังที่อยู่ที่กำหนด จำเป็นต้องใช้ค่า MX (Mail eXchange) ของ DNS

ปัจจุบันมี mail transfer agent กว่า 50 โปรแกรมที่สามารถใช้ SMTP ได้ โดยมีโปรแกรม Sendmail เป็นโปรแกรมแรกที่นำ SMTP ไปใช้ โปรแกรมตัวอื่นได้แก่ Postfix, qmail และ Microsoft Exchange เป็นต้น

สแปม (spam) คือชื่อเรียกของการส่งข้อความที่ผู้รับไม่ได้ร้องขอ ผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยส่วนมากจะทำให้เกิดความไม่พอใจต่อผู้รับข้อความ สแปมที่พบเห็นได้บ่อยได้แก่ การส่งสแปมผ่านทางอีเมล ในการโฆษณาชวนเชื่อ หรือโฆษณาขายของ โดยการส่ง อีเมลประเภทหนึ่งที่เราไม่ต้องการ ซึ่งจะมาจากทั่วโลก โดยที่เราไม่รู้เลยว่า ผู้ที่ส่งมาให้นั้นเป็นใคร จุดประสงค์คือ ผู้ส่งส่วนใหญ่ต้องการที่จะโฆษณา สินค้าหรือบริการต่าง ๆ ของบริษัทของตนเอง ซึ่งเป็นประเภทหนึ่งของเมลขยะซึ่งนอกจากจะทำให้ผู้รับรำคาญใจและเสียเวลาในการกำจัดข้อความเหล่านี้แล้ว สแปมยังทำให้ประสิทธิภาพการขนส่งข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตลดลงด้วย สแปมในรูปแบบอื่นนอกจาก อีเมลสแปม ได้แก่ เมสเซนเจอร์สแปม นิวส์กรุ๊ปสแปม บล็อกสแปม และเอสเอ็มเอสสแปม

การส่งสแปมเริ่มแพร่หลายเนื่องจากค่าใช้จ่ายในการส่งข้อความผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ มีค่าใช้จ่ายน้อยมากเมื่อเทียบการการส่งข้อความชักชวนทางอื่น เช่นทางจดหมาย หรือการโฆษณาทางสื่อต่างๆ ทำให้ผู้ส่งประหยัดค่าใช้จ่ายในการส่งข้อความเชิญชวน และในขณะเดียวกันกฎหมายเกี่ยวกับระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่เกี่ยวข้องกับสแปมยังไม่ครอบคลุม จนกระทั่งเริ่มมีใช้ครั้งแรกปี พ.ศ. 2546 (ค.ศ. 2003) ในประเทศสหรัฐอเมริกา

บล็อกสแปม (Spam blog) หรือ สปล็อก (Splog) คือการสร้างข้อความขยะ หรือข้อความโฆษณา หรือข้อความต่างๆ ที่คล้ายกับการสร้างความน่าเชื่อถือภายในบล็อก ซึ่งปัจจุบันถูกแบ่งเป็นสองแบบด้วยกันคือ แบบแรก การ spam blogs ด้วยการสร้าง blog ขึ้นมาเป็นจำนวนมากๆ เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือในการทำการตลาดของธุรกิจบางอย่าง หรือถูกใช้เพื่อสร้างกระแสต่างๆ ตามที่ต้องการ แบบที่สองคือ การสร้างกระทู้ขยะหรือความคิดเห็นขยะ เพื่อโฆษณาขายของ หรือเพื่อเรียกร้องให้คนไปยังเว็บไซต์ที่ต้องการ ในกระดานสนทนาออนไลน์ต่างๆ นอกจากนี้

ซึ่งปัจจุบัน สิ่งเหล่านี้เป็นปัญหามากขึ้นเรื่องเนื่องจากถูกใช้เป็นอีกรูปแบบหนึ่งในที่พัฒนาขึ้นจากการ spam mail รวมทั้งมีการสร้างโปรแกรม spam blog เหล่านี้ขายกันในต่างประเทศอีกด้วย



คู่มือการใช้งาน Junk Mail Manager





ระบบ Junk Mail Manager ของซีเอส ล็อกซอินโฟ ทำหน้าที่กักเก็บอีเมล์ที่ไม่พึงประสงค์ มีระบบจัดกา่รอีเมล์ ซึ่งอนุญาตให้คุณสามารถจัดการกับอีเมล์ที่ถูกดักจับไว้อย่างมีประสิทธิภาพ
วิธีการจัดการกับอีเมล์ไม่พึงประสงค์ มีดังต่อไปนี้
การจัดการอีเมล์ไม่พึงประสงค์ผ่านเว็บ : แรกเริ่ม ระบบจะทำการส่ง Welcome message ไปยังผู้ใช้บริการ ซึ่งเมื่อคุณคลิกที่ My Junk Mail link คุณสามารถ Login เข้าไปเพื่อจัดการกับอีเมล์ที่ไม่พึงประสงค์ได้ได้ เมื่อคุณเห็นว่า มีอีเมล์ที่ดีบางฉบับถูกดักจับว่า้เป็นแสปม คุณสามารถทำการส่ง (deliver) หรืออนุมัติ (approve) เพื่อส่ง mail ที่ถูกกักไว้เข้าไปยัง account ของคุณ Note: แสปมที่ถูกเก็บไว้จะถูกเก็บไว้ และอีเมล์ที่เ่ก่ากว่าระยะเวลาที่ทางผู้ดูแลระบบกำหนดไว้จะถูกลบ ค่าที่ตั้งไว้ปัจจุบัน คือ 5 วัน
การจัดการอีเมล์ไม่พึงประสงค์จากโปรแกรมอีเมล์ : ในทุก ๆ วัน ระบบจะส่ง Junk Mail Manager Summary, ซึ่งเป็นรายการอีเมล์ที่ถูกเก็บไว้ในระบบ จากรายการ คุณสามารถเปิดดูเนื้อหาอีเมล์ ทำการส่ง (deliver) หรืออนุมัติ (approve) เพื่อส่ง mail จาก Junk Mail Manager เข้าไปยังเมล์บอกซ์ของคุณตามต้องการ





การจัดการรายการสรุป Junk E-mail
รายการสรุป Junk Mail Manager , จะถูกจัดส่งให้กับคุณทุกวัน ( หรือตามระยะเวลาที่กำหนด) ทำให้คุณสามารถตรวจสอบอีเมล์ที่เ้ป็นแสปม และอีเมล์ดีที่ถูกจัดว่าเป็นแสปม

รายการคำสั่งใน e-mail summary
คำสั่ง
ผลลัพธ์
Deliver it.
คลิกที่ Deliver .อีเมล์ที่ต้องการจะถูกส่งจากระบบ Junk Mail Manager ไปยังเมลบอกซ์ของคุณ
Approve it.

คลิก Approve .อีเมล์ที่ได้รับการอนุมัติ (Approved) จะถูกส่งเข้าไปยังเมล์บอกซ์ของคุณ ในครั้งต่อไปอีเมล์ที่ได้รับการอนุมัติ จะถูกส่งไปยังเมล์บอกซ์ของคุณโดยไม่ผ่านระบบกลั่นกรองอีเมล์ ซึ่งใช้ในกรณีที่อีเมล์บางฉบับ อาจถูกจัดว่า้เป็นแสปม
View it.
คลิืก Subject เพื่อเปิดอ่านอีเมล์
Do nothing.
ไม่ต้องทำอะไร ระบบจะทำการลบแสปมเมล์ให้คุณโดยอัตโนมัติ ตามกำหนดที่แจ้งไว้ในอีเมล์รายการสรุป




การใช้ Junk Mail Manager
การลอกอิน
เมื่อระบบส่งรายการสรุปอีเมล์ไม่พึงประสงค์ คุณสามารถคลิกคำว่า Login ในอีเมล์เพื่อเปิดเข้ามายังหน้า Login ของระบบ Junk Mail Manager
พิมพ์ username@domain และ password ของคุณที่ใช้ในการรับอีเมล์



การใช้งานหน้า Junk Mail Manager
เมื่อคุณล็อกอินเข้ามาใน Junk Mail Manager จะปรากฏรายการอีเมล์ที่เป็นแสปม และอาจมีอีเมล์ที่ดีถูกจัดว่าเป็นแสปมปะปนเข้ามาอยู่ด้วย คุณสามารถใช้คำสั่งต่อไปนี้ เพื่อการจัดการตามความต้องการ

คำสั่ง
ผลลัพธ์
My Junk Mail
ดูและจัดการอีแสปมเมล์
Search
ค้นหาอีเมล์ที่ต้องการ
Controls
แก้ไขการทำงานของ Junk Mail Manager
Allowed Senders
สร้างรายการผู้ใช้ หรือโดเมนที่ไม่ต้องการให้ผ่านระบบการกลั่นกรองเมล์ เพื่อมิให้เมล์ที่สำคัญหลุดรอดเข้าไปในระบบ Junk Mail Manager
Blocked Senders
สร้างรายการผู้ใช้ หรือโดเมนที่ไม่พึงประสงค์ เพื่อไม่ต้องการรับอีเมล์
Allowed Mailing Lists
เพิ่ม e-mail addresses หรือ domains ของ mailing list ที่ได้รับอนุญาต อีเมล์ขาเข้าที่ถูกส่งจาก mailing list ที่คุณได้สมัครไว้จะไม่ถูกดักจับว่าเป็นแสปม
Content Filtering
เพิ่ม , แก้่ไข, หรือลบ การกลั่นกรองเนื้อหาอีเมล์
Preferences
ตั้งค่ารายละเอียดการแสดงผลอีเมล์
Summaries
ตั้งค่าความถี่ในการส่งรายการสรุป Junk mail
Password
เปลี่ยน password สำหรับการเข้าถึง Junk Mail Manager
Trash [Empty]
สั่งลบอีเมล์ที่อยู่ในถังขยะอย่างถาวร ( อีเมล์ที่ถูกลบจาก My Junk Mail จะถูกเก็บไว้ที่โฟลเดอร์ Trash)
Help
เปิดคู่มือเพื่อขอความช่วยเหลือ
Logout
ออกจาก Junk Mail Manager
คำอธิบายไอคอน ที่ปรากฏทางด้านซ้ายมือของ Junk Mail Manager
Icon
Name
Indicates that...
Unread
อีเมล์ที่ยังไม่ถูกเปิดอ่าน
Read
อีเมล์ที่ถูกเปิดอ่านแล้ว
Attachment
อีเมล์ที่มีไฟล์แนบมาด้้วย
Highest
อีเมล์ที่ถูกกำหนดว่า มีความสำคัญสูงสุด
High
อีเมล์ที่ถูกกำหนดว่า มีความสำคัญสูง
Low
อีเมล์ที่ถูกกำหนดว่า มีความสำคัญต่ำ
Lowest
อีเมล์ที่ถูกกำหนดว่า มีความสำคัญต่ำมาก

การใช้คำสั่งจัดการ Quarantined Message
ใน Junk Mail Manager คุณสามารถจัดการอีเมล์ที่ถูกดักจับไว้ โดย 4 วิธี ดังต่อไปนี้
You can...
What happens
Delete it.

ลบเมล์จาก My Junk Mail Folder อีเมล์ที่ถูกลบจะถูกเก็บไว้ที่ โฟลเดอร์ Trash, ซึ่งคุณสามารถจะลบอีเมล์จาก Trash folder.
Deliver it.

อีเมล์ที่ถูกกักเก็บไว้ใน Quarantine จะถูกส่งเข้าไปยังอีเมล์ account ของคุณ
Approve it.

อีเมล์ที่ได้รับการอนุมัติ (Approved) จะถูกส่งเข้าไปยังเมล์บอกซ์ของคุณ ในครั้งต่อไปอีเมล์ที่ได้รับการอนุมัติ จะถูกส่งไปยังเมล์บอกซ์ของคุณโดยไม่ผ่านระบบกลั่นกรองอีเมล์ ซึ่งใช้ในกรณีที่อีเมล์บางฉบับ อาจถูกจัดว่า้เป็นแสปม
Do nothing.
ไม่ต้องทำอะไร ระบบจะทำการลบแสปมเมล์ให้คุณโดยอัตโนมัติ ตามกำหนดที่แจ้งไว้ในอีเมล์รายการสรุป
การลบอีเมล์
คลิืก My Junk Mail จากลิงค์ด้านซ้ายมือ
คลิก เช็คบ็อกซ์ฺ หน้า e-mail ที่ต้องการลบ หรือ เปิดอีเมล์โดยคลิกที่รายการจดหมายภายใต้คอลัมน์ Subject
คลิก Delete .จดหมายจะถูกเก็บไว้ที่โฟลเดอร์ Trash ซึ่งคุณสามารถที่จะเรียกคืนได้ก่อนที่คุณจะ Log out จากระบบ ถ้าต้องการเรียกคืนอีเมล์ที่ถูกลบ คลิก Trash เลือกอีเมล์ทีั้ต้องการเก็บไว้ แล้วคลิก Undelete.
คลิก [Empty] หน้่า Trashอีเมล์ที่อยู่ในโฟลเดอร์ Trash จะถูกลบอย่างถาวร
การส่งเมล์จาก Quarantine เข้าไปยัง mailbox
คลิก My Junk Mail จากลิงค์ด้านซ้ายมือ
คลิกเช็คบ็อกซ์หน้าอีเมล์ที่ต้องการส่งเข้าไปยัง mailbox
คลิก Deliver . อีเมล์จะถูกส่งจากระบบ Quarantine ไปเข้า mailbox ตามปกติ


การอนุมัิติอีเมล์
คลิก My Junk Mail จากลิงค์ด้านซ้ายมือ
คลิกเช็คบ็อกซ์หน้าอีเมล์ที่ต้องการส่งเข้าไปยัง mailbox
คลิก Approve . Note : อีเมล์ที่ได้รับการอนุมัติ (Approved) จะถูกส่งเข้าไปยังเมล์บอกซ์ของคุณ ในครั้งต่อไปอีเมล์ที่ได้รับการอนุมัติ จะถูกส่งไปยังเมล์บอกซ์ของคุณโดยไม่ผ่านระบบกลั่นกรองอีเมล์ ซึ่งใช้ในกรณีที่อีเมล์บางฉบับ อาจถูกจัดว่า้เป็นแสปม
Note : เมื่อคุณเลือกที่จะลบ (delete) ส่ง (deliver) หรือ approve อีเมล์ในขณะที่คุณกำัลังเปิดอ่านอีเมล์ อีเมล์ฉบับถัดไปจะถูกแสดงขึ้นมาแทน

การสร้างรายการอีเมล์ หรือโดเมนที่ได้รับอนุญาต (Allowed Senders)
คุณสามารถสร้างรายการผู้ส่งซึ่งได้รับการอนุญาต (Allowed Senders) ให้ส่งอีเมล์เข้ามาในเมล์บอกซ์ของผู้ใช้โดยไม่ผ่านการกรองแสปมเมล์ เพื่อให้มั่นใจว่า อีเมล์ที่สำคัญจะไม่หลุดเข้าไปใน Junk Mail Manager
การส้างรายการผู้ส่งที่ได้รับอนุญาต :
คลิก Allowed Senders จากลิงค์ทางด้านซ้ายมือ
ที่ช่อง E-mail Address or Domain ใส่อีเมล์ หรือโดเมนที่ต้องการอนุญาต


การกำหนดการทำงานของ Junk Mail Manager
คุณสามารถเปลี่ยนแปลงวิธีการที่ Junk Mail Manager กระทำต่อแสปมเมล์ เพื่อให้หยุดแสปมเมล์ หรือไม่ดำเนินการใด ๆ กับ แสปมเมล์โดยการปิดฟังก์ชัี่นการกลั่นกรองอีเมล์ ถ้าคุณหยุดการทำงานของระบบการกลั่นกรองเมล์ อีเมล์ที่ไม่พึงประสงค์จะถูกส่งเข้าไปยังเมล์บอกซ์ของผู้ใช้ โดยไม่ผ่านการกลั่นกรอง
การแก้ไขการทำงานของ Junk Mail Manager
คลิก Controls
คลิก Edit

3.ที่ Select a Filter Condition คลิกเลือกออปชั่นต่อไปนี้:
Normal (only junkmail gets this filter action) : Only system-identified junkmail is subject to your specified filter action.
Exclusive ( ทุกอีเมล์ที่ไม่ใช่จาก Allowed Senders จะถูกฟิลเตอร์) : ทุกอีเมล์จากผู้ส่งที่อยู่ในรายการที่อนญาต (Allowed Senders) list is subject to your specified filter action. อีเมล์จากผู้ส่งในรายการผู้รับที่ได้รับอนุญาต (Allowed Senders) จะถูกส่งเข้าไปยัง inbox
Note: ถ้าคุณเลือก Off ระบบ Junk Mail Manager จะส่งอีเมล์ทุกฉบับเข้าไปยัง mailbox

4. ที่หัวข้อ Select a Filter Action คลิกออปชั่นต่อไปนี้:
Quarantine : อีเมล์ที่ถูกระบุว่าเป็นแสปมจะถูกกักเก็บโดย Junk Mail Manager จนกว่าคุณจะดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือจนกว่าอีเมล์จะหมดอายุ
Discard :แสปมเมล์จะถูกลบทิ้งไม่สามารถกู้คืนได้
5. คลิก Set


การตั้งค่าความถี่ในการส่งเมล์
คุณสามารถตั้งค่าความถี่ในการส่ง Junk Mail Manager Summary ตามต้องการ ดังนี้
คลิก Summaries
เลือกหัวข้อใดหัวข้อหนึ่ง ต่อไปนี้
Never — ไม่ส่ง Junk Mail Manager Summary
Daily — ส่งรายการสรุปวันละครั้ง
Weekly — ส่งรายการสรุปสัปดาห์ละครั้ง
Weekdays — ส่งรายการสรุปทุกวันทำการ ยกเว้นวันหยุดสุดสัปดาห์

(Optional) เลือก Don't send me empty summaries หากคุณไม่ต้องการให้ส่งรายการสรุปหากไม่มีแสปมเมล์
คลิก Set .


การเปลี่ยน Password
คุณสามารถเปลี่ยน Password ในการเข้า Junk Mail Manager ดังนี้
คลิก Password
พิมพ์ Passord เก่าในช่อง Password และพิมพ์ Password ใหม่ใน่อง New Password และ Confirm Password

อุปกรณ์เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตและรูปแบบการให้บริการISP






อุปกรณ์ต่อเชื่อม Internet

1.คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล
2.โทรศัพท์
3.Router,Modem
4.ผู้ให้บริการ ISP โดยให้บริการเกี่ยวกับการจำหน่ายชั่วโมงอินเตอร์เน็ต



รูปแบบผู้ให้บริการ Internet เครือข่าย ISP


ในการติดต่อขอให้ใช้บริการอินเตอร์เน็ตจากผู้ให้บริการมีอยู่ 2 วิธี คือ
1.การสมัครโดยตรงโดยขอผู้ให้ใช้บริการนั้นสามารถทำการติดต่อไปยังศูนย์บริการ ISP แต่ละแห่งได้โดยตรงด้วยการติดต่อยังศูนย์บริการโดยตรง
2.การสมัครโดยการซื้อบริการในรูปแบบชุดสำเร็จรูป ซึ่งสามารถเลือกซื้อชั่วโมงอินเตอร์เน็ตในรูปแบบของ Card หรือ Net Card
บริษัทผู้ให้บริการ Internet (Internet Service Providers) เป็นบริษัทซึ่งเปิดให้บริการเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายอินเตอร์เน็ต (Internet) สำหรับองค์กรธุรกิจต่าง ๆ สถาบันการศึกษา บุคคลทั่วไป ฯลฯ โดยอาจมีขอบเขตให้บริการลูกค้าในเฉพาะเขตพื้นที่จำกัด เช่น ในระดับจังหวัด หรือ ภูมิภาค หรือ อาจมีขอบเขตให้บริการครอบคลุมในระดับประเทศ หรือ ระดับนานาชาติก็ได้ นอกจากให้บริการเชื่อมต่อกับเครือข่าย Internet แล้ว บริษัทผู้ให้บริการ Internet มักมีบริการ Internet อื่น ๆ เสริม เช่น ให้เช่า E-mail Box เพื่อใช้เก็บจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (e-Mail)


การนำเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราเข้าเชื่อมกับระบบอินเทอร์เน็ต สามารถกระทำได้ 2 ลักษณะ คือ การเชื่อมต่อโดยตรง การเชื่อมต่อแบบนี้จะเป็นการนำระบบของเราเข้าเชื่อมต่อโดยตรงกับสายหลัก (Backbone) ของอินเทอร์เน็ต โดยผ่านอุปกรณ์ที่เรียกว่า เกตเวย์ (Gateway) หรือ เร้าเตอร์ (Router) ร่วมกับสายสัญญาณความเร็วสูง โดยเราจะต้องติดต่อโดยตรงกับ InterNIC ซึ่งเป็นองค์กรที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการรับสมัครเป็นสมาชิกของชุมชนอินเทอร์เน็ต เพื่อขอชื่อโดเมนและติดตั้งเกตเวย์เข้ากับสายหลัก การเชื่อมต่อแบบนี้จะสามารถติดต่อกับอินเทอร์เน็ตได้ตลอดเวลา จึงเหมาะสำหรับองค์กรที่ต้องการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นในระบบ 24 ชั่วโมง แต่อย่างไรก็ดี ค่าใช้จ่ายในการเชื่อมต่อลักษณะนี้จะมีราคาแพงมากทั้งทางด้านอุปกรณ์และการบำรุงรักษา การเชื่อมต่อผ่านทางผู้ให้บริการ ผู้ให้บริการการเชื่อมต่อเข้าระบบอินเทอร์เน็ต (Internet Service Provider) หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า ไอเอสพี (ISP) จะเป็นองค์กรๆ หนึ่งที่ทำการติดตั้งและดูแลเครื่องสำหรับให้บริการ (Server) ที่ต่อตรงเข้ากับระบบอินเทอร์เน็ต ซึ่งอนุญาตให้ผู้สมัครเป็นสมาชิกขององค์กรนำระบบของตนเข้ามาเชื่อมต่อได้ ISP จึงเปรียบเสมือนช่องทางผ่านเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ต ซึ่งหลังจากที่เราเชื่อมต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ตได้แล้ว เราก็สามารถจะเชื่อมต่อไปยังที่ใดก็ได้ในระบบ ในการเชื่อมต่อผ่านทาง ISP นี้ยังแบ่งลักษณะการเชื่อมต่อออกเป็น 2 ประเภท ตามความต้องการใช้งานของสมาชิก ดังนี้การเชื่อมต่อแบบองค์กร (Coorporate User Services) เป็นองค์กรที่มีการจัดตั้งระบบเครือข่ายใช้งานภายในองค์กรอยู่แล้ว จะสามารถนำเครื่องแม่ข่าย (Server) ของเครือข่ายนั้นๆ เข้าเชื่อมกับ ISP เพื่อเชื่อมโยงเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตได้ การเชื่อมโยงส่วนบุคคล (Individual User Services) บุคคลธรรมดาทั่วไปสามารถขอเชื่อมต่อเข้าสู่อินเทอร์เน์ตได้ โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้อยู่เชื่อมต่อผ่านทางสายโทรศัพท์ ผ่านอุปกรณ์ที่เรียกว่าโมเด็ม (Modem) ซึ่งค่าใช้จ่ายไม่สูงมากนัก โดยติดต่อขอใช้บริการผ่านการสมัครเป็นสมาชิกของ ISP ซึ่งอาจจะเป็นสมาชิกรายชั่วโมง รายเดือน หรือเป็นลักษณะสมาชิกสำเร็จรูป แล้วแต่ทาง ISP นั้นๆ จะให้บริการ โดยทาง ISP จะให้ชื่อบัญชี (Internet Account Name) และรหัสผ่าน (Password) สำหรับสมาชิกแต่ละคนสำหรับใช้ในการเชื่อมต่อเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ต

ความหมายและความเป็นมาของ Internet






ความหมาย Internet



อินเตอร์เน็ต คือ เครือข่ายขนาดใหญ่ที่เชื่อมต่อระบบต่างๆ จากทั่วมุมโลกเข้าด้วยกันไม่ว่าจะเป็นสถาบันการศึกษา องค์กร หน่วยงานทั้งงานราชการและเอกชน ซึ่งมีข้อมูลมากมายที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้
อินเตอร์เน็ต คือ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดมหึมาที่เชื่อมโยงเอา
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ย่อย ๆ ทั่วโลก เข้าไว้ด้วยกันเครือข่าย คือ ขื่อเรียกกลุ่มของคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ที่เชื่อมต่อกัน เพื่อให้สามารถแบ่งปันข้อมูลและทรัพยากรอื่นๆ เช่นคอมพิวเตอร์สำนักงานมักเชื่อมต่อกันเพื่อให้สามารถใช้แฟ้นข้อมูลและเครื่องพิมพ์ร่วมกันกับคอมพิวเตอร์ทั้งหมดบนอินเตอร์เน็ตในอีกซีกโลกหนึ่งจะง่ายพอ ๆ กับการคุยกับคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในห้องติดกันเมื่อไรก็ตามที่คอมพิวเตอร์ของคุณต่อเข้ากับ อินเตอร์เน็ตก็เปรียบเหมือนกับตัวแมงมุมกลางใยแมงมุมขนาดมหึมาซึ่งใยแมงมุมแต่ละเส้น นำข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องนำมาสู่คอมพิวเตอร์
อินเทอร์เน็ต (Internet) หมายถึง

เครือข่ายคอมพิวเตอร์นานาชาติ ที่มีสายตรงเชื่อมต่อไปยังสถาบันหรือหน่วยงานต่าง ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้ทั่วโลก. ผู้ใช้เครือข่ายนี้สามารถสื่อสารถึงกันได้ทางอีเมล์ สามารถสืบค้นข้อมูลและสารสนเทศ รวมทั้งคัดลอกแฟ้มข้อมูลและโปรแกรมมาใช้ได้. อย่างไรก็ตาม มีผู้เปรียบเทียบว่า อินเทอร์เน็ตเป็นเหมือนทางหลวงระหว่างประเทศ แต่ละประเทศจะต้องมีถนนเข้ามาเชื่อมต่อเข้าไปในประเทศ กล่าวคือ จะต้องมีเครือข่ายภายในรับช่วงต่ออีกทอดหนึ่ง (เช่น เครือข่ายภายในมหาวิทยาลัย, องค์กร หรือเครือข่ายของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต) มิฉะนั้นก็จะใช้ไม่ได้ผล

ประโยชน์ Internet


ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์(Electronic mail=E-mail) เป็นการส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตโดยผู้ส่งจะต้องส่งข้อความไปยังที่อยู่ของผู้รับ และแนบไฟล์ไปได้
เทลเน็ต(Telnet) การใช้งานคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งที่อยู่ไกล ๆ ได้ด้วยตนเอง เช่น สามารถเรียกข้อมูลจากโรงเรียนมาทำที่บ้านได้ การโอนถ่ายข้อมูล(File Transfer Protocol ) ค้นหาและเรียกข้อมูลจากแหล่งต่างๆมาเก็บไว้ในเครื่องของเราได้ ทั้งข้อมูลประเภทตัวหนังสือ รูปภาพและเสียง การสืบค้นข้อมูล (Gopher,Archie,World wide Web) การใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตในการค้นหาข่าวสารที่มีอยู่มากมาย ใช้สืบค้นข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ทั่วโลกได้ การแลกเปลี่ยนข่าวสารและความคิดเห็น(Usenet) เป็นการบริการแลกเปลี่ยนข่าวสารและแสดงความคิดเห็นที่ผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตทั่วโลก แสดงความคิดเห็นของตน โดยกลุ่มข่าวหรือนิวกรุ๊ป(Newgroup)แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน การสื่อสารด้วยข้อความ (Chat,IRC-Internet Relay chat) เป็นการพูดคุย โดยพิมพ์ข้อความตอบกัน ซึ่งเป็นวิธีการสื่อสารที่ได้รับความนิยมมากอีกวิธีหนึ่ง การสนทนากันผ่านอินเทอร์เน็ตเปรียบเสมือนเรานั่งอยู่ในห้องสนทนาเดียวกัน แม้จะอยู่คนละประเทศหรือคนละซีกโลกก็ตาม การซื้อขายสินค้าและบริการ(E-Commerce = Electronic Commerce) เป็นการซื้อ - สินค้าและบริการ ผ่านอินเทอร์เน็ต การให้ความบันเทิง (Entertain) บนอินเทอร์เน็ตมีบริการด้านความบันเทิงหลายรูปแบบต่างๆ เช่น รายการโทรทัศน์ เกม เพลง รายการวิทยุ เป็นต้น เราสามารถเลือกใช้บริการเพื่อความบันเทิงได้ตลอด 24 ชั่วโมง



ความเป็นมาของระบบ Internet



อินเตอร์เน็ตถูกพัฒนาโดยกระทรวงกลาโหม ของสหรัฐอเมริกาปี ค.ศ. 1969 ซึ่งหน่วยงานที่ทำหน้าที่ดูแลเครือข่ายมีชือว่า APRA (Advanced Research PojectAgency) เครือข่ายคอมพิวเตอร์นี้มีชื่อว่า อาร์พาเน็ต (ARPANET) เครือข่ายนี้สร้างขึ้นเพื่อการใช้งานทางด้านการทหาร โปรโตคอลที่ใช้ชื่อว่า DARPA ต่อมา ARPA ได้สร้างมาตราฐานในการเชื่อมต่อขึ้นใหม่ เพื่อให้คอมพิวเตอร์ต่างชนิดกันสามารถติดต่อสื่อสาร
กันได้ จึงได้สร้างโปรโตคอลขึ้นมาใหม่ ซึ่งใช้กันมาจนถึงปัจจุบันคือ TCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet Protocol) และเมื่อปี ค.ศ. 1989 มีคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อในเครือข่ายมากขึ้น จึงเปลี่ยนชื่อใหม่ว่า "อินเตอร์เน็ต"โลกวันนี้ได้มาถึงจุดเลี้ยวต่อที่วัฒนธรรมได้หักมุมจากสังคม ที่แต่เดิมมีศูนย์กลาง อยู่ที่เครือข่าย

วิทยุ ทีวีและโทรศัพท์มาสู่เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่อุดมไปด้วยข้อมูลข่าวสาร ซึ่งผลักดัน ให้สังคมก้าวสู่สังคมดิจิทัล (Digital Society) โดยทุกวันนี้ทั่วโลกมีมนุษย์ใช้อินเทอร์เน็ตอยู่ประมาณ 200 ล้านคน หรือร้อยละ 3.2 ของประชากรโลกเฉพาะประเทศสหรัฐอเมริกาแห่งเดียว มีผู้ใช้ถึง 80 ล้านคน (ประมาณร้อยละ 29 ของพลเมืองสหรัฐอเมริกา) จากข้อมูลการสำรวจผู้ใช้อินเทอร์เน็ตของชาวอเมริกัน พบว่าหนึ่งในสามของชาวอเมริกันใช้อินเทอร์เน็ตในการ จับจ่ายสินค้า ผ่านเน็ต ปรึกษาแพทย์ผ่านเน็ต ฟังการถ่ายทอดวิทยุผ่านเน็ต ลงทุนผ่านเน็ต จำนองบ้านผ่านเน็ต ติดตามการขนส่งพัสดุผ่านเน็ต รับทราบข่าวผ่านเน็ต สนทนาโทรศัพท์ผ่านเน็ต รวมทั้งทำกิจกรรมการเมืองผ่านเน็ต และแม้กระทั่งสื่อสารรักกันผ่านเน็ต


วันพุธที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2551

MV Samurai Champloo

เรื่องอะไรไม่น่าเบื่อเท่าเรื่อง 3 เศร้า เฮ้อ...น่าเบื่อที่สุดเลยขี้เกียจไปง้อนะ..พอเราง้อเสร็จ...มานกลับเมินเฉยกะเราซะง้านนนนน แต่กลับมีความลับกับเราแทน...คือว่ามันมีแฟนใหม่แล้ว...เพราะเพื่อนมานบอกไง *0* เลิกกันดีกว่าเนอะ...เป็นเพื่อนอ่ะดีแล้วว^^

MV~ การ์ตูนซสมูไร แชมพลู

ชอบลาสอองเซลที่สุดเลยยยยย